โครงการเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัยจากสารเคมี ตำบลศาลาใหม่ ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดโรค ปลอดภัยจากสารเคมี ตำบลศาลาใหม่ ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L2487-1-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ |
วันที่อนุมัติ | 26 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟาตีนี พิริยศาสน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.282,102.008place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การประกอบอาชีพเกษตรกรรมถือเป็นกำลังสำคัญที่เป็นรากฐาน ทางเศรษฐกิจของชาติ ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทางโดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น การดูแลสุขภาพเกษตรกรจึงเป็นงานสำคัญประการหนึ่ง จากการดำเนินงาน ในปี 2562 มีเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) ได้รับคัดกรองประเมินความเสี่ยง (แบบ นบก.1) จำนวน 65 คน จากการคัดกรองฯ พบว่าส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่ำ จำนวน 55 คน และไม่พบคนที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงจนถึงเสี่ยงสูงมาก ซึ่งที่ไม่พบกลุ่มนี้ส่งผลให้ลดลง จากปี 2560 และ ปี 2561 แต่ได้รับการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (จากทั้งหมดที่ได้รับการคัดกรองฯ ตามแบบ นบก.1) จากผลการตรวจเลือดฯ พบว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 60 และพบว่าเป็นกลุ่มที่ไม่ปลอดภัย จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 9.23 รวมทั้งหมด 45 คน คิดเป็นร้อยละ 69.23 เพิ่มขึ้นจากปี 2560 และ ปี 2561 จะเห็นได้ว่าทั้งกลุ่มเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ได้เป็นเกษตรกร) บางส่วนยังใช้และสัมผัสกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการปฏิบัติตัวป้องกันสารเคมีเป็นอย่างดี จึงมีความจำเป็นจะต้องดูแลสุขภาพของเกษตรกรและผู้สัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช อย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้มีการจัดบริการเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกแก่เกษตรกร
|
0.00 | |
2 | 2. เพื่อให้เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชมีความรู้ และความตระหนักในการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 200 | 8,700.00 | 0 | 0.00 | 8,700.00 | |
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 | กิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ | 100 | 7,500.00 | - | - | ||
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 | จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรอง | 100 | 1,200.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 200 | 8,700.00 | 0 | 0.00 | 8,700.00 |
ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน
2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ
3. ประสานงานโรงเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
4. การจัดกิจกรรมการสัมภาษณ์แบบ นบก.1 และการประเมินสภาวะทางจิตของเกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชทุกคน และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้กระดาษ Reactive paper พร้อมคืนข้อมูลผลการประเมินความเสี่ยงให้เกษตรกรและชุมชน และแนะนำวิธีการดุแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยเป็นรายบุคคล/รายกลุ่มทั้งในชุมชน และในคลินิกเกษตรกร
5. การจัดคลินิกเกษตรกรปลอดโรคเพื่อให้คำปรึกษาและติดตามอาการ โดยจะส่งต่อพบแพทย์เพื่อรักษาในกรณีที่มีอาการรุนแรง
6. จัดกิจกรรมประชุมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องอันตรายจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 แล้วพบความเสี่ยง ในพื้นที่ หมู่ 1 และ หมู่ 2 ตำบลศาลาใหม่ จำนวน 100 คน
7. จัดกิจกรรมการเจาะเลือดตรวจคัดกรองโดยใช้ Cholinesterase Reactive paper ในกลุ่มเกษตรกรทั่วไป/กลุ่มใช้สารเคมีกำจัดพืช/กลุ่มเกษตรกรที่คัดกรองจากแบบสัมภาษณ์ นบก.1 แล้วพบผลความเสี่ยงตั้งแต่เสี่ยงปานกลาง จนถึงผลเสี่ยงสูงมาก พื้นที่ หมู่ 1 และ หมู่ 2 ตำบลศาลาใหม่ จำนวน 100 คนๆละ 2 ครั้ง
ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล
8. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา และแจ้งหนังสือผลการตรวจแก่กลุ่มเป้าหมาย
- เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
- เกษตรกรและผู้ใช้สารเคมีศัตรูพืชหลีกเลี่ยงการใช้หรือลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 11:24 น.