กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบางเตง ปี 2563 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.บางเตง
วันที่อนุมัติ 26 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 ตุลาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.บางเตง
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่บ้านโพธิ์ จากรายงานของปี 2562 ตั้งแต่ 1 ม.ค.2562 จนถึง 30 ต.ค.2562 ค่า HI=33.21 CL=10.73 พบผู้ป่วย 3 คน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่เสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุดคือ ช่วงอายุ 15-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน ปัจจุบันกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน ร่วมกับคลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ และอาสาสมัครสาธารณสุขของคลอนิกเวชปฏิบัติครอบครัวบ้านโพธิ์ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกมาเป็นระยะเวลาหลายปี พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกลดลงมาก แต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื่นที่ใกล้เคียงมีมาอย่างต่อเนื่ อง และประชาชนยังขาดความตระหนักต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทำให้เกิดการปรับเปลี้ยนแนวคิดคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสถาพปัญหาของโรคไข้เลือกออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภาระที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

น้อยลงจากปีที่ผ่านมา

1.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน และชุมชน

1.ค่า HI < 10 2.ค่า CI = 0

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,500.00 0 0.00
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 ค่าตอบแทนทีม SRRT ที่ออกพ่นหมอกควัน 0 1,200.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงในการพ่นหมอกควัน 0 900.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อทรายอะเบทสำหรับทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 6,000.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อสเปรย์ฉีดกันยุงบ้านผู้ป่วย 0 900.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดซื้อโลชั่นกันยุงสำหรับผู้ป่วย 0 600.00 -
1 มิ.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 900.00 -

เตรียมการ 1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเทศบาลตำบลอ่าวพะยูน โงเรยน ชุมชน หน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินงาน
    2.จัดตั้งคระทำงาน/จัดทำแผนนปฏิบัติการ/กำหนดภารกิจ/มอบหมายงาน     3.ประชาสัมพันธ์/นำเสนอขออนุมัติแผน ดำเนินการ 1.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย     2. รณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุืและกำจัดยุงลายทุก 3 เดือน
    3.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนทุกเดือนโดย อสม.     4.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทุกหลังคาเรือนทุก3เดือนโดยการไขว้ อสม.ระหว่างหมู่บ้าน     5.สุ่มสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 30 หลังคาเรือน /หมู่บ้าน ทุกเดือนโดย จนท.     6.สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน ศูนย์เด็กและคลินิกเวชฯโดย จนท.ทุกวันศุกร์ ประเมินผล - ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากปีที่ผ่านมา 2.สามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียนและชุมชน 3.ความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลงจากปีที่ผ่านมา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 13:28 น.