กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออกตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L3044-2-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโลย
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 31,030.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนุง สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโลย อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.781,101.439place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มีความรุนแรงสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้และมีผลต่อการสูญเสียทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพบว่ายังมีการแพร่ระบาดอยู่เป็นจำนวนมาก ในขณะที่การป้องกันและการควบคุมโรคโดยการกำจัดและลดจำนวนยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคด้วยการทำลายลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายนั้นอาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสูงๆใดๆเลย แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมโรคนี้ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้   การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกนับว่าเป็นเป้าหมายหลักของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลและป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการวางกำหนดเป้าหมายการควบคุมโรคโดยเน้นการดำเนินการในบ้าน ชุมชน โรงเรียน ตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆเป็นเขตปลอดยุงลาย รวมทั้งการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมกันกำจัดยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมการป้องกันโรคเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป       การศึกษาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในจังหวัดปัตตานี ปี พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 1,024 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 154.34 ต่อแสนประชากร ส่วนปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 759 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 114.40 ต่อแสน ประชากร ส่วนในปี พ.ศ. 25560 มีจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งสิ้น 216 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 32.36 ต่อแสนประชากร (สำนักงานระบาดวิทยา, 2562) ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี พบว่า ปี 2562 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 110 ราย ส่วนปี พ.ศ. 2561 จำนวนผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเช่นกัน และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 98 ราย จะเห็นได้ว่า การระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น จะมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอยะหริ่ง, 2562) สำหรับสถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกในตำบลบาโลย จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกใน 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี 2558 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย ซึ่งมีมากเป็นอุบัติการณ์และเป็นที่ 8 ของอำเภอด้วย ต่อมาใน 25558 ลดลงเหลือ 5 ราย และ 9 รายในปี 2560 ต่อมาในปี 2561 ไม่พบผู้ป่วย และในปี 2562 พบผู้ป่วย 2 ราย จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น   ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโลย จึงได้จัดทำโครงการพื้นที่ปลอดภัยจากไข้เลือดออก  เพื่อจัดอบรม สัมมนาให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปขยายผลต่อ เผยแพร่ให้กับประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจจะได้ช่วยกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 31,030.00 2 31,030.00
29 ก.ย. 63 กิจกรรมอบรม/สัมนาความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 105 12,725.00 12,725.00
30 ก.ย. 63 กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุและกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ 105 18,305.00 18,305.00

3.1 ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและแบ่งงานมอบหมายหน้าที่/ทำการอบรม สัมมนาให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อสม.ทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยงาน และอื่นๆ 3.2 อสม. และเจ้าหน้าที่นำความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออกรณรงค์เผยแพร่ให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อ   3.2.1 ช่วยกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านเรือนตลอดจนสถานที่ราชการต่างๆให้มีความเหมาะสมไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย   3.2.2 รู้จักวิธีดูแลตนเองไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก

3.3 อสม. ครู นักเรียน เจ้าหน้าที่และชาวบ้านทุกหมู่ ร่วมกันรณรงค์ ออกสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยพร้อมเพรียงกัน 3.4 ควบคุมและป้องกันการระบาด โดยพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย แจกสเปรย์ฉีดยุง
3.5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.ในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องไข้เลือดออกมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันดูแลไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  2. ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการดูแลตนเองและช่วยกันป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  3. พื้นที่เป้าหมายไม่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 14:08 น.