กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังอสม.รพ.สต.น้ำเชี่ยว ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5253-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำเชี่ยว
วันที่อนุมัติ 8 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 53,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมทรง แวกาจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.505,100.802place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2246 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรีย ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.น้ำเชี่ยว
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค กำลังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคไข้ซิกา โรคไข้ชิคุณกุนยา โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก โรคได้แพร่กระจายเกือบทุกพื้นที่ทุกจังหวัดของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเข้ารับการรักษา จำนวน 128,964 ราย เสียชีวิต 133 ราย โดยจังหวัดสงขลามีผู้ป่วย 3,097 ราย เสียชีวิต 5 ราย ในส่วนของอำเภอสะบ้าย้อย มีผู้ป่วยไข้เลือดออก 198 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต และในส่วนของพื้นที่ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 ตำบลเขาแดง ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของชมรม อสม.รพ.สต.น้ำเชี่ยว มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 4 จำนวน 4 ราย และหมู่ที่ 7 จำนวน 6 ราย และโรคมาลาเรีย พบในพื้นที่ หมู่ที่ 4 จำนวน 10 ราย ส่วนพื้นที่หมู่ที่ 7 ไม่พบผู้ป่วย ซึ่งโรคดังกล่าวล้วนมียุงเป็นพาหะนำโรค ยุงลายมีแหล่งเพาะพันธ์ในภาชนะที่มีน้ำขังทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น โอ่ง ไห อ่าง กะลา แจกัน และกระถางต้นไม้ เป็นต้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่อันตราย หากไม่ดำเนินการควบคุมโรคให้ทันท่วงทีอาจเป็นปัญหาต่อสุขภาพของประชาชนและถึงขั้นเสียชีวิตได้
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมและป้องกันโรคอย่างเร่งด่วน ซึ่งมาตรการสำคัญที่จะควบคุมโรคให้ได้ผล ต้องอาศัยการประสานงานการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ภาคประชาชน ทำหน้าที่ในรูปแบบของการเฝ้าระวังและควบคุมโรคเชิงรุก คือ การควบคุมและกำจัดยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง การกำจัดยุง ทั้งกายภาพและเคมี รวมทั้งให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ และเกิดทัศนคติที่ดี พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรค ด้วยเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ชมรมอสม.รพ.สต.น้ำเชี่ยว อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการรวมพลัง อสม.รพ.สต.น้ำเชี่ยวควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ ปี 2563 เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 7 ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โดยการสำรวจ ค่า Hl , Cl

ในชุมชมลดแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลาย โดยให้มีบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 พ่นหมอกควัน 2246 53,600.00 -
รวม 2,246 53,600.00 0 0.00
  1. ประสานงานกับ อบต.เขาแดง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสะบ้าย้อย นคม.ที่ 12 สะบ้าย้อย
  2. จัดตั้งแกนนำเครือข่ายเฝ้าระวังโรค ดำเนินการในทุกหมู่บ้านและในโรงเรียน
  3. ดำเนินการพ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม
  4. สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน
  5. เมื่อพบผู้ป่วยในพื้นที่ให้แจ้งสถานบริการทราบ เพื่อดำเนินการตามมาตรการ 3-1-1 สอบสวนทำลายเชื้อปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและให้สุขศึกษา
  6. พ่นหมอกควันในชุมชนที่เกิดโรค
  7. รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความตระหนัก ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคที่มียุงเป็นพาหะและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม ต่อการป้องกันโรคดังกล่าว
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคดังกล่าว
  3. ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
  4. ประชาชนทั่วไป อสม. ครู นักเรียน มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ
  5. ประชาชนทั่วไป อสม. ครู นักเรียน มีความตระหนักในการป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 09:44 น.