โครงการชาวเขาแดงรวมพลังยับยั้งยุงลาย ปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการชาวเขาแดงรวมพลังยับยั้งยุงลาย ปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L5253-2-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด |
วันที่อนุมัติ | 8 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2563 |
งบประมาณ | 63,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสมรัก เจริญศรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.505,100.802place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 3884 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอสะบ้าย้อย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 - วันที่ 30 พ.ค. 63 | 56.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างสุขภาพนับได้ว่ามีความสำคัญและเป็นหัวใจในการพัฒนาระบบสุขภาพให้มีความยั่งยืน โดยที่การสร้างสุขภาพจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับการควบคุมและป้องกันโรค ปัญหาสาธารณสุขในสังคมชนบทมักจะสอดคล้องกับโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลต่างๆ เช่น โรคท้องร่วงในช่วงฤดูร้อน ที่น้ำดื่มน้ำใช้ขาดแคลน โรคระบบทางเดินหายใจในกลุ่มเด็ก ช่วงย่างเข้าฤดูหนาว เป็นต้น โดยเฉพาะโรคที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ณ เวลานี้ คือ โรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค
โรคไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในขณะนี้ มีการแพร่กระจายไปทั่วเกือบทุกพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีแนวโน้มของอัตราป่วยเพิ่มขึ้น เกิดขึ้นกับประชากรทุกกลุ่มอายุ ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ได้แก่ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย แหล่งน้ำอันเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุที่สำคัญของยุงลาย ไม่มีการกำจัดขยะที่ถูกต้อง รวมทั้งการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้นส่งผลทำให้เกิดการระบาดไปยังที่อื่นอย่างรวดเร็ว
จังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาดอย่างหนักเช่นเดียวกับอีกหลายๆ จังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอำเภอสะบ้าย้อย เป็นพื้นที่มีรอยต่อกับจังหวัดยะลา มีการย้ายถิ่น การเคลื่อนไหวของประชากรเพื่อการศึกษา และประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้มากกว่าพื้นที่อื่น จากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกในอำเภอสะบ้าย้อย ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2563 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 56 ราย ซึ่งเป็นอำเภอที่ระบาดอันดับ 1 ในจังหวัดสงขลา
สำหรับตำบลเขาแดง ในช่วงเวลาเดียวกันพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 3 ราย และจากการวิเคราะห์สถานการณ์โรคพบว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์และปัจจัยหลายด้านที่เอื้อต่อการระบาดของโรค และหากไม่รีบดำเนินการควบคุมป้องกันโดยเร็วจะส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านความเจ็ดป่วยทางกาย ทางจิตใจ และเศรษฐกิจ
ด้วยเหตุนี้ ชมรมอาสาสมัครโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำตลอด ตำบลเขาแดง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการ ชาวเขาแดงรวมพลัง ยับยั้งยุงลาย ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้สถานการณ์การระบาดของโรคลดลงอย่างรวดเร็ว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เขตรับผิดชอบ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 และ 6 ตำบลเขาแดง
|
0.00 | |
2 | เพื่อลดความชุกชุมของยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออก
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1 , 2 , 3 และ 6 ตำบลเขาแดง มีความรู้ และให้ความสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 | พ่นหมอกควัน | 3884 | 63,200.00 | - | ||
รวม | 3,884 | 63,200.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการพ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดเทอมในเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อทำลายยุงตัวแก่ จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์
กิจกรรมที่ 2 ดำเนินการพ่นหมอกควันในหมู่บ้านในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อทำลายยุงตัวแก่ จำนวน 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์
กิจกรรมที่ 3 ให้แกนนำออกดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ สร้างกระแส
กิจกรรมที่ 4 ทำลายแหน่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพและทางเคมี
- แจกสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมคลื่นสุขภาพ
- ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเรื่องสุขภาพอื่นๆ ผ่านแกนนำ อสม. และผู้นำชุมชน โดยใช้สื่อ ได้แก่ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน แผ่นพับ และเสียงตามสายในโรงเรียน
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หมู่ที่ 1 , 2 , 3 และ 6 ตำบลเขาแดง ลดลง
- ความชุกชุมของยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลง
- ประชาชน หมู่ที่ 1 , 2 , 3 และ 6 ตำบลเขาแดง (จำนวน 900 หลังคาเรือน) มีความรู้ที่ถูกต้องตระหนักและให้ความสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 13:28 น.