กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักเรียน รักสุขภาพ ตำบลศาลาใหม่ ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2487-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 28,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัญชลี บุตรพรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานอนามัยโรงเรียนและงานควบคุมโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ ปี 2562 และจากการดำเนินงานโครงการรักเรียน รักสุขภาพ ตำบลศาลาใหม่ ปี 2562 ได้ดำเนินกิจกรรมกับเด็กนักเรียนทั้งหมด 1,764 คน (ทั้ง 5 โรงเรียน: โรงเรียนบ้านโคกมะเฟือง, โรงเรียนบ้านศาลาใหม่, โรงเรียนบ้านคลองตัน, โรงเรียนบ้านปูลาเจ๊ะมูดอ และโรงเรียนจรรยาอิสลาม) และนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน ร้อยละ 100 โดยพบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเหา จำนวน 487 คน คิดเป็นร้อยละ 27.60 (ปี 2561 จำนวน 407 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22,    ปี 2560 จำนวน 404 คน, คิดเป็นร้อยละ 22.06, ปี 2559 จำนวน 648 คน คิดเป็นร้อยละ 33.87) ได้รับการรักษาแล้วบางส่วน แต่พบปัญหาข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นยารักษาหิดเหาไม่เพียงพอ การรักษาทำไม่พร้อมกันทำให้เกิดปัญหาการเกิดโรคซ้ำ
จากการคัดกรองโรคเรื้อนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคผิวหนัง พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคหิด/กลากเกลื้อน จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 9.35 สำหรับอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ ได้แก่โรคเรื้อนจากการคัดกรองในปี 2562 ไม่พบผู้ป่วยสงสัยโรคเรื้อนในเด็กนักเรียน โรคไข้เลือดออกทุกประเภทในปี 2562 พบอัตราป่วยในกลุ่มอายุวัยเรียน (5-15 ปี) จำนวน 6 ราย จากที่พบผู้ป่วยทั้งหมด 9 รายซึ่งคิดเป็นอัตราป่วย 58.22 ต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่ไม่พบผู้ป่วยเลย และเพิ่มขึ้นจาก ปี 2560 ที่พบอัตราป่วย จำนวน 5 ราย และโรคอุจจาระร่วงในปี 2562 พบอัตราป่วยในกลุ่มอายุวัยเรียน (5-15 ปี) จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 17.14 จากอัตราป่วยทั้งตำบล ซึ่งลดลงจากปี 2561 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 24.35 และลดลงจากปี 2560 ที่พบอัตราป่วย จำนวน 38 คน (คิดเป็นร้อยละ 26.58) จะเห็นได้พบปัญหาที่เกิดในวัยเรียนมากมายซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการเรียนรู้ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเริมสุขภาพตำบลศาลาใหม่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันควบคุมโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่และในกลุ่มวัยเรียน
  1. อัตราป่วยด้วยโรคเหาในกลุ่มเด็กนักเรียนลดลงจากปีการศึกษา 2562 ร้อยละ 20
  2. ไม่พบผู้ป่วยเรื้อนพิการในกลุ่มวัยเรียน
  3. ไม่พบโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียน
  4. อัตราป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงในกลุ่มเด็กนักเรียนลดลงจากปี 2562
0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มความตระหนักในการดูแลสุขภาพกลุ่มวัยเรียน
  1. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน จำนวน 700 คน เข้าร่วมกิจกรรมประชุมให้ความรู้ฯและกิจกรรมคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ ร้อยละ 100
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2100 28,440.00 4 28,440.00
1 ต.ค. 62 - 31 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเรื้อนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคผิวหนัง 0 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ 700 17,500.00 17,500.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์กำจัดหิดเหาในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคหิดเหา 700 2,940.00 2,940.00
1 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมรณรงค์การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ 700 8,000.00 8,000.00

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ
1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน
2. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ
3. ประสานงานโรงเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ
ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ
4. จัดกิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเรื้อนในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคผิวหนัง ส่งต่อพบแพทย์ในกลุ่มที่สงสัยผู้ป่วยโรคเรื้อน
5. จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องการควบคุมป้องกันโรคติดต่อสำคัญและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ เช่นโรคเรื้อน โรคหิด โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาจะร่วง โรคเหา โรคผิวหนังอื่นๆ ในกลุ่มตัวแทนเด็กนักเรียนทุกระดับชั้นเรียน กลุ่มตัวแทนครู และกลุ่มตัวแทนผู้ ปกครอง จำนวน 700 คน
6. จัดกิจกรรมรณรงค์กำจัดหิดเหาในกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีปัญหาโรคหิดเหา จำนวน 700 คน (รร.บ้านโคกมะเฟือง, รร.บ้านศาลาใหม่, รร.บ้านคลองตัน, รร.บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ และรร.จรรยาอิสลาม)
7. จัดกิจกรรมรณรงค์การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ โดยเฉพาะการสอนล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือ 7 ขั้นตอน ในกลุ่มวัยนักเรียน
8. ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองความผิดปกติพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล
9. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา และแจ้งหนังสือผลการตรวจแก่กลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กวัยเรียนมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการป้องกันโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ฯโดยการคัดกรองตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  2. ไม่พบปัญหาเรื่องการควบคุมป้องกันโรคติดต่อสำคัญและโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ในกลุ่มเด็กวัยเรียน เช่น ไม่พบผู้ป่วยโรคเรื้อนในกลุ่มวัยเรียน
  3. นักเรียนทุกคนที่เข้ากิจกรรมรณรงค์การกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สามารถล้างมือด้วยน้ำยาล้างมือ 7 ขั้นตอนได้ และบ่อยครั้ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 16:08 น.