กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยฟันดีที่ศูนย์เด็ก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลควนเนียง
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุไรยา หมานระโต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 20,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคในช่องปากที่แพร่หลายโรคหนึ่งของประชากรทั่วโลก โรคนี้จะเกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชายในทุกกลุ่มอายุ แต่ในวัยเด็กจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าในวัยผู้ใหญ่ โรคฟันผุเป็นโรคที่มีการดำเนินโรคไปอย่างช้าๆและต่อเนื่อง ถ้าไม่ได้รับการตรวจและรักาาในระยะแรกๆแล้ว โรคก็จะลุกลามต่อไปจนกระทั่งถึงจุดที่เกิดพยาธิสภาพขึ้นกับเนื้อเยื่อปลายรากฟันและรอบรากฟัน ซึ่งทำให้มีความยุ่งยากในการรักษาเพื่อจะอนุรักษ์ฟันนั้นไว้ และมักจะต้องได้รับการรักษาด้วยการถอนออกในที่สุด เด้กก่อนวัยเรียน เป็นวัยที่ฟันน้ำนมขึ้นมาครบทุกซี่ในช่องปาก ปัญหาที่พบของเด็กวัยนี้คือโรคฟันผุ ทำให้มีการสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนด มีผลต่อการบดเคี้ยวอาหาร การพัฒนาการของขากรรไกร ตลอดจนการเรียงตัวของฟันถาวรที่จะขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ดังนั้นการดูแลทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ควรเริ่มตั้งแต่เด็ก เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป (กองทันตกรรม กระทรวงสาธารณสุข,2551) จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติของสำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2560) พบว่า โรคฟันผุในฟันน้ำนมในฟันน้ำนมมีความชุกและความรุนแรงค่อนข้างสูง ตั้งแต่ในเด็กอายุ 3 ปี พบเด็กเป็นโรคฟันผุ ร้อยละ 52.9 โดยเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 2.8 ซี่ต่อคน ในกลุ่มเด็กอายุ 5 ปี พบเด็กโรคฟันผุสูงสุดคือ ร้อยละ 75.6 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันน้ำนม 4.5 ซี่ต่อคน จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ปัญหาเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กเล็กยังคงมีความชุกและแนวโน้มฟันผุอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจัยสำคัญต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็กพบสอดคล้องกันหลายๆด้าน คือ พฤติกรรมในการบริโภคขนม นมรสหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ดีพอ (สุณี วงศ์คงคาเทพ และคณะ,2550) การทำความสะอาดช่องปากพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มักละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการแปรงฟัน หรือปล่อยให้เด็กแปรงฟันเองโดยไม่มีการควบคุมดูแล (กองทันตกรรม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข,2551) จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของพ่อแม่และผู้ปกครองมีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็ก ซึ่งเด็กเล็กในวัย 2-5 ปี ไม่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้โดยสมบูรณ์ ต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากพ่อแม่และผู้ปกครอง และในการดำเนินงานส่งเสริมในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในการดูแลช่องปากเด็กจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดต่อการดูแลสุขภาพในช่องปากของแม่เด็กที่ใกล้ชิดและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ จังหวัดสงขลา ปี 2561 พบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 46.36 (สำนักงานสาธารณสุข จ.สงขลา,2561)และจากการสำรวจสุขภาวะช่องปากในอำเภอควนเนียง จ.สงขลา ในปี 2561 พบว่าพบเด็กอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 40.5 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 5.66 ซี่ต่อคน ดังนั้น กลุ่มงานทันตกรรม จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ หนูน้อยฟันดีที่ศูนย์เด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฟันผุ ผลเสียของการที่เด็กยังไม่เลิกดื่มนมจากขวด รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหาร ความถี่ในการกินขนมกรุบและน้ำหวาน และมีวิธีป้องกันรักษาได้อย่างทันท่วงทีและถูกวิธี เน้นบทบาทผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้หันมาใส่ใจและลงมือปฏิบัติในการแปรงฟันให้เด็กอย่างจริงจัง อันส่งผลให้เด็กมีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครองมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเพิ่มขึ้น

ผู้ปกครองมีความรู้ เพิ่มฃึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 ผู้ปกครองมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

คราบจุลินทรีย์หลังการแปรงฟันลดลง ร้อยละ 80

0.00
3 จำนวนเด็กที่นำขวดนมมาศพด.ลดลง

จำนวนเด็กที่นำขวดนมมาศพด.ลดลง ร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 การสำรวจข้อมูล 0 0.00 -
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 การเตรียมความพร้อม 0 0.00 -
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 จัดกิจกรรมทบทวบความรู้ 0 20,000.00 -
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ติดตามและประเมินผล 0 0.00 -
  1. การสำรวจข้อมูล
  2. การเตรียมความพร้อม
  3. หนูน้อยฟันดีที่ศูนย์เด็ก
  4. ติดตามและประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ปกครองมีทักษะการแปรงฟันให้ลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. จำนวนเด็กที่ขวดนมมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 16:15 น.