กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพ่นหมอกควันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 20/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 บ้านสะเก
วันที่อนุมัติ 24 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 มีนาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยามีล๊ะ สะตี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีพ.ศ. 2560 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สํานักระบาดวิทยา ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2560) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF, Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 11,062 ราย อัตราป่วย 16.91 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจํานวนผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 37.19 (0.62 เท่า) เมื่อเทียบกับปีพ.ศ. 2559 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 19 ราย อัตราป่วยตายเท่ากับ ร้อยละ 0.17 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 10-14 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 53.14 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (36.29), อายุ 15-24 ปี (30.89) อายุ 0-4 ปี (21.51) และอายุ 25-34 ปี (16.80) ตามลําดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ นักเรียน ร้อยละ 46.09 รองลงมาได้แก่ รับจ้าง (ร้อยละ 19.22) และ ไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 17.94) ตามลําดับ ผู้ป่วยเพศชาย 5,684 ราย เพศหญิง 5,378 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1 : 0.95 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 66.24 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 6,127 รายรองลงมา ได้แก่ ภาคกลางอัตราป่วย 12.59 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 2,770 รายภาคเหนืออัตราป่วย 7.35 ต่อประชากรแสนคนจํานวนผู้ป่วย 903 ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 5.77 ต่อประชากรแสนคน จํานวนผู้ป่วย 1,262 ราย ตามลําดับ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 บ้านสะเก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นในกลุ่มเด็กนักเรียน เนื่องจากกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเด็กที่จะเกิดโรคมากที่สุดจากรายงานสถานการณ์โรคที่ผ่านมา จึงจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดโรคในชุมชน และลดอัตราป่วยในพื้นที่ลง โดยอาศัยความร่วมมือในทุกระดับตั้งแต่ครัวเรือนจนถึงระดับชุมชน และมีพฤติกรรมร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องทั้งชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือกออก 3.เพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันโรคระหว่างหน่วยงานในพื้นที่และในชุมชน

ร้อยละ 100 ชมุชนให้ความสำคัญต่อการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินการ 1. จัดทำแผนงาน/โครงการ และเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อของบประมาณ ระยะดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน 3. จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก ผ่านช่องทาง ดังนี้ - ป้ายประชาสัมพันธ์ชุมชน - ประชาสัมพันธ์โดยอาสาสมัครสาธารณสุข 4. จัดกิจกรรมพ่นหมอกควันในสถานที่ ดังต่อไปนี้ - โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระหว่างปิดภาคเรียน - สถาบันการศึกษาเอกชนและปอเนาะ - บ้านผู้ป่วยกรณีเกิดโรค พร้อมทั้งสอบสวนโรค ระยะหลังดำเนินการ 1. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพกรงปินัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

6.1 อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี 6.2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 6.3 ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2560 17:32 น.