กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิตเทศบาลเมืองท่าช้าง ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L822525622014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 11 กันยายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฑามาศ พลสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 12.63646674,102.09098place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน
72.72
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
80.00
3 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

ร้อยละของแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพิ่มขึ้น

72.72 60.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

80.00 82.00
3 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)

80.00 82.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ เทศบาลเมืองท่าช้าง เพื่อจัดทำโครงการฯ
  2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ
  3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
  4. ดำเนินกิจกรรม โดยวิธี
      4.1 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและติดตามหญิงตั้งครรภ์ที่ขึ้นทะเบียน มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต     - อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง มีการค้าหาหญิงตั้งครรภ์และแนะนำเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต     - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองท่าช้างร่วมคัดกรองหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมโครงการ และจัดทำเอกสารข้อมูลและแผนดูแลสำหรับหญิงตั้งครรภ์รายบุคคล โดยเกณฑ์เสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วย     1) มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)     2) มีภาวะแทรกซ้อนของโรคทางอายุรกรรม เช่น โรคหัวใจ ไทยรอยด์เป็นพิษ     3) มีประวัติ/ตรวจพบภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ (BP 140/90 mmHg หรือมากกว่า)     4) มีประวัติ/ตรวจพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์     5) ลำดับการตั้งครรภ์ตั้งแต่ครั้งที่ 4 ขึ้นไป     6) BMI น้อยกว่า 18.5 หรือมากกว่า 30
        7) ตั้งครรภ์แฝด     8) หญิงตั้งครรภ์มีอายุน้อยกว่า 17 ปี หรือมากกว่า 35 ปี
        9) ระหว่างตั้งครรภ์น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ (น้ำหนักขึ้นน้อยกว่า 1 kg. ต่อเดือน)     10) มีเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างตั้งครรภ์     11) ลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน (อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์)     - อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองท่าช้าง ออกติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ให้ความรู้และพัฒนาทักษะหญิงตั้งครรภ์ตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1000 วันแรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1000 วัน อาหาร การพักผ่อน วิธีการออกกำลังกาย การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร การประเมินความเครียดและวิธีการจัดการความเครียด วิธีการส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโต ศักยภาพสมองเด็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการสังเกตอาการเจ็บครรภ์เตือนอาการเจ็บครรภ์คลอด และอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์)     - หญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับอาหารส่งเสริมสุขภาพ (ไข่ไก่ จำนวน 30 ฟอง ต่อเดือน จนกระทั่งคลอด) โดยใช้เอกสารดังนี้
        1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ     2) สมุดบันทึกการฝากครรภ์ (สมุดสีชมพู) หรือใบฝากครรภ์   4.2 กิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพและติดตามเด็ก อายุแรกเกิด ถึง 2 ปี     - อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง มีการค้นหาเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ในพื้นที่และแนะนำเข้าร่วมโครงการมหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต
        - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองท่าช้าง คัดกรองค้นหาเด็กที่มีภาวะเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดเกณฑ์เสี่ยงในเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี ดังนี้
        1) มีภาวะความพิการแต่กำเนิด     2) มีประวัติมีภาวะขาดออกซิเจนในระยะแรกเกิด     3) น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2500 กรัม     4) มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)     5) มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (เตี้ย , ผอม) หรือเกินเกณฑ์ (อ้วน)     6) แม่อายุน้อยกว่า 17 ปี     - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองท่าช้าง ออกติดตามเยี่ยมให้ความรู้และพัฒนาทักษะผู้ปกครอง/ผู้เลี้ยงดูแลเด็ก ตามหลักสูตรเนื้อหา การส่งเสริมสุขภาพ 1000 วันแรกแห่งชีวิต (เนื้อหาหลักประกอบด้วย พันธะสัญญา 1000 วัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารตามวัย วิธีการออกกำลังกายและการพักผ่อน การสร้างสมาธิด้วยจิตประภัสสร วิธีการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามแนวทางในคู่มือ DSPM ศักยภาพสมองเด็ก การวัดและประเมินการเจริญเติบโต การป้องกันอุบัติเหตุในเด็กและอาการผิดปกติที่ต้องรีบมาพบแพทย์)   4.3 วิธีการติดตามประเมินผล     - อาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง จัดเก็บข้อมูลการให้บริการทุกเดือน ประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงาน และรวบรวมข้อมูลส่งให้คณะกรรมการพัฒนาอนามัยแม่และเด็กทุกเดือน     - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองท่าช้าง มีการสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และกำหนดแนวทางการปรับปรุงระบบบริการร่วมกัน     - ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองท่าช้าง สรุปผลการดำเนินงานส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองท่าช้าง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2.เด็กทารกแรกเกิดในเขตเทศบาลเมืองท่าช้างที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่น้อยกว่า 40 3.อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 4.เด็กแรกเกิดถึง 2 ปี กินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2563 09:09 น.