กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนรวมใจป้องกันและควบคุมภัยโรคติดต่อ
รหัสโครงการ 60-L1523-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชร
วันที่อนุมัติ 28 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ตุลาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดาสินฝาด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุณีจำนงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.465place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงทศววษที่ผ่าน สภาวะแวดล้อมมีการปรับเปลี่ยนไปซึ่งรวมไปถึงสภาวะทางสังคมเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตไปตามสภาวะแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมายโดยเฉพาะปัญหาทางด้านสุขภาพได้มีโรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้น อาทิเช่น โดรคมือ เ้า ปาก โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นต้น รวมถึงโรคที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรควัณโรค ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง และยังส่งผลกระทบไปถึงภาพรวมทั้งในระบบสังคมและเศรษฐกิจ สถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชรปี 2558-2559 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 7 รายและ 9 ราย ตามลำดับ ไม่มีผู้เสียชีวิต และโรคมือ เท้า ปาก ในปี 2558-2559 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 2 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ สถานะการณ์โรคมีแนวโน้มว่ายังมีการระบาดการจายอยู่ในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายของโรคอย่างต่อเนื่อง จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเมืองเพชรได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือของอาสาสมัคร องค์กรชุมชน นักเรียนและประชาชนในการดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโดยให้ประชาชนมีบทบาทและสร้างกิจกรรทร่วมมือกันในการควบคุมและป้องกันการเกิดโรค ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคติดต่อมีประสิทธิภาพมากขึ้นและไม่เป็นปัฐหาต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบอีกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อให้ประชาชน,องค์กรชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีส่วนร่วมในการควบคุมและควบคุมโรคติดต่อ - เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อที่ถูกต้อง
  • หมู่บ้าน ชุมชน สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกรายแรกของทุกเหตุการณ์ (index case) ไม่เกิดโรคใน 28 วัน (second generation)
  • มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 , CI = 0
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : - เพื่อให้ประชาชน,องค์กรชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีส่วนร่วมในการควบคุมและควบคุมโรคติดต่อ - เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. อบรมชี้แจงให้ความรู้โรคมมือ เท้า ปาก การป้องกันโรคไข้เลือดออก การกำจัดและควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ุยุง แก่ ผู้ปกครอง อสม. นักเรียน แกนนำครัวเรือน
  2. นักเรียน ครู อสม. ผู้นำชุมชน แกนนำครัวเรือน ออกรณรงค์สำรวจ และทลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุง และปรับปรุงความสะอาดบริเวณบ้านเรือนและโรงเรียนทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ ตามแนวปฏิบัติหลัก 5 ป 2 ข
  3. อสม. สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในละแวกที่รับผิดชอบในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ในโรงเรียนสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงในโรงเรียนสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน และจัดส่งรายงานเดือนละ 1 ครั้ง
  4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ครู และ อสม. ดำเนินการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรค มือ เท้า ปาก แบบเชิงรุกในชุมชนและในโรงเรียน พร้อมแจกเอกสารให้ความรู้
  5. ประสานงานกับเทศบาลตำบลนาเมืองเพชรร่วมรณรงค์พ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดภาคเรียน และสถานที่สาธารณะ
  6. กรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

- โรคไข้เลือดออก จัดกิจกรรมประชุมกล่มย่อย สอบสวนโรคเฉพาะราย ฉีดสเปรย์กำจัดยุง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงและพ่นหมอกควันจุดเกิดโรคและละแวกใกล้เคียง - ผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จัดกิจกรรมประชุมกลุ่ม สอบสวนโรคเฉพาะราย กรณีระบาดในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทำความสะอาดห้องเรียน ขัดล้างฆ่าเชื้อ เน้นพฤติกรรมการล้างมือที่ถูกวิธี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

องค์กรชุมชน นักเรียน อสม. และแกนนำครอบครัวมีการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี อันจะส่งผลให้ประชากรในพื้นที่รับผิดชอบป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โรคมือ เท้า ปาก ลดน้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 09:33 น.