กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวเกาะสะท้อนรวมใจ ห่างไกลจากยาชุด ตำบลเกาะสะท้อน
รหัสโครงการ 60-L2481-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอร่าม อะมีเราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันพบว่าปัญหาเรื่องยาชุดเป็นประเด็นลำดับต้นๆ ที่หน่วยงานด้านสาธารณสุขจะต้องรีบดำเนินการแก้ไขเนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่นิยมรับประทานยาชุดในการรักษาโรคที่ไม่รุนแรง ทำให้อาการทุเลาภายในระยะเวลาอันสั้น หลีกเลี่ยงการเสียเวลาในการไปตรวจรักษาในระบบโรคพยาบาล แต่ผลกระทบที่ตามมาจากการใช้ยาชุมคืออันตรายต่อร่างการในระยะยาว จากการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อยส่วนใหญ่พบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีการใช้ยาชุดอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาชุด จึงถูกผู้ประกอบการหัวใสคอยเอาเปรียบ โดยยาชุดส่วนใหญ่จะวางขายตามร้านขายของชำในชุมชน ซึ่งถือเป็นสินค้าที่สามารถหาซื้อได้ง่าย และให้ผลการรักษาที่รวดเร็วจึงเป็นที่นิยมของผู้สูงอายุที่ไม่ชอบไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยยาชุดส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อร่างกาย การรับประทานยาชุดจะทาให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณยาที่ไม่เหมาะสมพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น เมื่อรับประทานเป็นประจำจะทำให้เกิดการสะสมของยาภายในร่างกายซึ่งอาจทำให้เป็นมะเร็งในลำดับต่อไป การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ และบุคคลในชุมชนที่จะต้องช่วยกันระวังไม่ให้ยาชุดเข้ามาสร้างอันตรายให้กับคนในชุมชนได้ รวมทั้งภาครัฐควรมีบทลงโทษที่เคร่งครัดกับผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุผลดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อนจึงได้จัดทำโครงการ ชาวเกาะสะท้อนรวมใจ ห่างไกลจากยาชุด ขึ้น เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาชุดในชุมชน รวมทั้งเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังเกี่ยวกับภัยจากยาชุด สิ่งเหล่านี้จะสามารถสร้างความเข้มแข็งทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกิดชุดข้อมูลสถานการณ์การใช้และขายยาชุดในชุมชนตำบลเกาะสะท้อน

เกิดข้อมูลแผนที่ยาชุด (C0mbine drug Mapping) ในชุมชนตำบลเกาะสะท้อน ร้อยละ 90

2 2.เพื่อพัฒนากลไกการแก้ไข้ปัญหายาชุดของตำบลเกาะสะท้อน ประกอบดด้วย กลไกการเฝ้าระวัง กลไกการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาชุดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 8,800.00 0 0.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม 40 4,000.00 -
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ปฏิบัติการชุมชนสำรวจการใช้ยาชุมในพื้นที่ 0 1,000.00 -
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ไวนิล และโปสเตอร์เพื่อเผยแพร่ในชุมชน 0 3,800.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการ ประกอบด้วย 1. ประชุมทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการลงพื้นที่และระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน อันประกอบด้วย   - เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ       - เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอผู้รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ       - แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 15 คน       - ผู้นำทางศาสนา       - แกนนำผู้ประกอบการร้านชำ 15 คน       - ผู้แทนสถานศึกษา
2. การพัฒนาเครื่องมือสำรวจการใช้และขายยาชุด การวางแผนการลงพื้นที่ในชุมชนพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการทดลองใช้เครื่องมือ
ขั้นที่ 2 ดำเนินการ ประกอบด้วย 1. ปฏิบัติการชุมชนสำรวจสถานการณ์การใช้และขายยาชุดในพื้นที่ชุมชนตำบลเกาะสะท้อนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.
2. สรุปข้อมูลสถานการณ์และระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์แนวทางแก้ไขปัญหา 3. ประชุมผู้ประกอบการร้านชำและเพื่อหึความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ยาพร้อมทั้งให้ดูตัวอย่างลักษณะของยาชุดชนิดต่างๆที่มีขายในชุมชน 4. จัดทำสื่อโปสเตอร์เกี่ยวกับยาชุมเพื่อเผยแพร่ในชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดภาคีเตรือข่ายเฝ้าระวังยาชุด เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2.ประชาชนปลอดภัยไม่มีการใช้ยาพวกสเตียรอยด์ในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 10:07 น.