กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน ชุมชนปลอดโรควัณโรค ประจำปี 2563
รหัสโครงการ L822525632001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มกราคม 2563 - 28 มกราคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2563
งบประมาณ 17,015.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจุฑามาศ พลสงคราม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
ละติจูด-ลองจิจูด 12.63646674,102.09098place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค เป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้ หากรับประทานยาครบตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมโรค วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมการระบาดของวัณโรค ที่เสนอแนะโดยองค์การอนามัยโลก คือ DOTS (ด็อท) เป็นการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบยาระยะสั้นโดยมีพี่เลี้ยงกำกับการรับประทานยาตลอดการรักษา ปัจุบันประเทศไทยมีอัตราผู้ป่วยวัณโรคขาดยาเกินเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากขาดกำลังใจในการรักษา เนื่องจากจำนวนเม็ดยาที่จะต้องรับประทานมีจำนวนมาก ผู้ป่วยมีอาการแพ้ยา ซึ่งเกิดได้บ่อยโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรก ใช้ระยะเวลาในการรักษานาน ผู้ป่วยต้องรับประทานยาติดต่อกันนานอย่างน้อย 6 เดือน เมื่อผู้ป่วยรับประทานยาประมาณ 2 เดือน ผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นมากจนคิดว่าตัวเองหายแล้วและเลิกรับประทานยาเอง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาวัณโรคได้ ดังนั้น การกำกับการรับประทานยาที่บ้านผู้ป่วยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากซึ่งบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วย และสามารถเข้าถึงผู้ป่วยที่บ้านได้อย่างเหมาะสม ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง เห็นถึงความสำคัญในการควบคุมโรควัณโรค โดยมุ่งเน้นให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นผู้ควบคุมกำกับการกินยาที่บ้านผู้ป่วยโรควัณโรค ซึ่งจะนำไปสู่ผลสำเร็จของการรักษาโรควัณโรค และลดอัตราผู้ป่วยวัณโรคขาดยา และลดอัตราผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาในเขตเทศบาลเมืองท่าช้างได้ จึงได้จัดทำโครงการ เพื่อนช่วยเพื่อน ชุมชนปลอดโรควัณโรคขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และแนวทางกำกับการรับประทานยาวัณโรคที่บ้าน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกและผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาทุกรายได้รับการกำกับหารรับประทานยา

 

0.00
3 เพื่อสร้างระบบการกำกับการรับประทานยาวัณโรคที่บ้าน ในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้างประชุมร่วมกันกองสาธารณสุขเทศบาลเมืองท่าช้าง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าช้าง วางแผนร่วมกันจัดทำโครงการ
    • เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ
    • ประสานวิทยากรเพื่อจัด วัน-เวลา การอบรม
    • จัดเตรียมและกำหนดการอบรม
  2. ขั้นดำเนินการ
    • จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องวัณโรค วัณโรคดื้อยา และแนวทางการกำกับการรับประทานนาที่บ้านของผู้ป่วยวัณโรค
    • ลงเยี่ยมประเมินและกำกับการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกและวัณโรคดื้อยาที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง
    • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลและกำกับการรับประทานยาที่บ้านของผู้ป่วยวัณโรค
  3. ขั้นติดตามและประเมินผล
    • แบบประเมินความรู้หลังจากได้รับการอบรมเกี่ยวกับวัณโรค วัณโรคดื้อยา และแนวทางการกำกับการรับประทานยาที่บ้านของผู้ป่วยวัณโรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความรู้เรื่องโรควัณโรค และสามารถควบคุมกับการกินยาผู้ป่วยวัณโรคได้อย่างถูกต้อง 2.ผู้ป่วยโรควัณโรคที่อยู่ในพื้นที่เทศบาลเมืองท่าช้าง มีอัตราการรักษาหายขาดมากกว่าร้อยละ 90 3.เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคที่บ้าน ได้รับประทานยาถูกต้องครบตามขนาดที่แพทย์สั่ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2563 10:14 น.