กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7889-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฐานแม่อาสา
วันที่อนุมัติ 23 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 2,154.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริพร กลิ่นพิทักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ ดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้านๆ ประการสำคัญนั้น ควรมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก..เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่การปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต..โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป ซึ่งปัจจุบันพบว่าข้อมูลอนามัยแม่และเด็กของจังหวัดสงขลายังมีปัญหาหลายด้านที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์ และคลอดที่บ้านผดุงครรภ์โบราณ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่สำคัญ อันก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย การตายของทารกและมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้
จากการสำรวจข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสงขลา (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2560) พบว่า หญิงหลังคลอด มีจำนวน 21,009 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.51 ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 408 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.50 ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขต้องพบไม่เกินร้อยละ 7 ในส่วนของอำเภอสะเดา พบหญิงหลังคลอด มีจำนวน 2,030 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.66 ราย และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.05 ในระดับตำบลปริก พบหญิงหลังคลอด มีจำนวน 261 ราย คิดเป็นร้อยละ12.86 ราย และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.5 และในพื้นที่ของเขตเทศบาล ตำบลปริก พบหญิงหลังคลอด มีจำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 15.33 ราย และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม จำนวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.5 ซึ่งจากภาพรวมของข้อมูลดังกล่าวนั้นต่ำกว่าเกณฑ์ทำให้เห็นถึงปัญหาอันเกิดจากการที่มารดาขณะตั้งครรภ์นั้นมีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ ปฏิบัติตัวไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งแนวทางการดูแลเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวนั้น คือ ต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับบริการการฝากครรภ์ มีการเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกๆ ด้านตามวัย
ดังนั้น จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัย ดังนั้น ฐานแม่อาสา จึงได้จัดทำโครงการสร่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ ปี.2560.นี้ขึ้นมาเพื่อให้มารดาทารกที่อยู่ในครรภ์และที่จะเกิดมาในอนาคตได้รับการดูแลที่ถูกวิธีเพื่อให้มีสุขภาพกายสุขภาพที่ดี และเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่ให้เกินร้อยละ 7

ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

2 เพื่อให้ทารกแรกเกิด มีพัฒนาการสมวัย

ทารกแรกเกิด มีพัฒนาการสมวัยไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอด ตลอดจนสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องและเกิดการดุแลสุขภาพโดยชุมชนเพื่อชุมชน

หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเอง หลังคลอด ตลอดจนสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

4.1 เจ้าหน้าที่รพ.สต.ปริก ประสานงานกับโรงพยาบาลในเครือข่าย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหญิงตั้งครรภ์

4.2 ทีมฐานแม่อาสา เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ปริก อสม. และกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริกร่วมประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย

4.3 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอดแก่กลุ่ม หญิงวัยเจริญพันธุ์
4.4 ติดตามเยี่ยมบ้านรายละ 1 ครั้ง โดยทีมฐานแม่อาสา
4.5 สรุปถอดบทเรียนและประเมินผลการดำเนินโครงการ 4.6 สรุปโครงการเสนอต่อคณะกรรมการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

9.1 ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7

9.2 ทารกแรกเกิด - 6 เดือน มีพัฒนาการสมวัย

9.3 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแลตนเองหลังคลอด ตลอดจนสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 11:45 น.