กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองและหมู่บ้านปรับเปรียนเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปี 2560

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,โรคหัวใจและหลอดเลือดสมองและหมู่บ้านปรับเปรียนเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2481-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 81,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางน้ำฝน พรหมน้อย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 246 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2478 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันอัตราการป่วยของโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการ จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น และก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคเบาหวานและโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรไทยส่วนมากบริโภคผักและผลไม้ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องตรวจค้นหา คัดกรองตรวจสุขภาพของประชาชน ดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับรวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 20-30 และโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดลงได้อย่างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าว รพ.สต.บ้านตะเหลี่ยงจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง,โรคเบาหวาน,โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง และหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ปี 2560 เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบทั้งกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถรับผิดชอบในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาแทรกซ้อนต่างๆ ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหากลุ่มคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองฯ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ ให้ได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่อง
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน (Pre-DM) ป่วยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 (Pre-DM ปี 59 ทั้งหมด 295 คน ไม่เกินร้อยละ 5 เท่ากับไม่เกิน 15 คน)
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดัน (Pre-HT) ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 (Pre-HT ปี 59 ทั้งหมด 494 คน ไม่เกินร้อยละ 5 เท่ากับไม่เกิน 25 คน)
0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงมีความรู้ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมในการป้องกันการเกิดโรค
  • ผู้ที่ได้รับการคัดกรองและพบภาวะเสี่ยงปานกลางและเสี่ยงมาก และผู้ป่วย เข้ารับการปรับเปลี่ยน อย่างน้อยร้อยละ 20
  • ผู้ที่เข้าร่วมการปรับเปลี่ยนมีภาวะเสี่ยงลดลง อย่างน้อยร้อยละ 50
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2751 81,150.00 0 0.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมการตรวจคัดกรองความ เสี่ยงฯ 2,478 61,950.00 -
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ 273 9,300.00 -
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ 0 9,900.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. แต่งตั้งทีมสุขภาพสำหรับออกดำเนินงานในพื้นที่และคัดกรองความเลี่ยงฯ
2. ประสานงานเครือข่ายในการแต่งตั้งทีมคณะทำงานในพื้นที่ ในการประชาสัมพันธ์ และติดตามกลุ่มเป้าหมาย
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอทรัพยากรและงบประมาณสนับสนุนโรคงการฯ 4. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย และจัดทำแผนกำหนดวันออกปฏิบัติงานเชิงรุกการดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงฯในพื้นที่
5. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ 6. ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ได้รับทราบวัตถุประสงค์ของโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการฯโดยเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายผ่าน อสม. ผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา 7. จัดทำแผนกำหนดวันออกปฏิบัติการให้ความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 8. อบรมทบทวนทักษะการวัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก คำนวณดัชนีมวลกาย และการซักประวัติ แก่ อสม. 9. อสม. นัดวันเวลาสถานที่กลุ่มเป้าหมายตามเขตที่รับผิดชอบ ในแต่ละหมู่ โดย อบต. ร่วมจัดสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรม 10. เจ้าหน้าที่และอสม. ดำเนินกิจกรรมคัดกรองตามแผนฯ 11. เจ้าหน้าที่สรุปผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงฯ และแจ้งให้ผลการคัดกรองประชาชนได้ทราบและให้ความรู้ในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมป้องกันการเกิดโรคลด/ป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากพฤติกรมที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม 12. ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงสูงเพื่อรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯและรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง 13.รณรงค์การออกกำลังกาย โดยส่งเสริมให้กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมีการออกกำลังกายมากขึ้น 14. รณรงค์การปลูกผักสวนครัว เพื่อให้ทุกครัวเรือนสามารถเพิ่มผักกินได้ทุกมื้อ 15. รณรงค์การลดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ โดยส่งเสริมให้กลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าคลินิก DPAC และคลินิกลดบุหรี่ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง 16. จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยง 1 ครั้ง (จำนวน 99 คน) 17. มีการติดตามตรวจร่างกายกลุ่มเสี่ยง ทุก 3 เดือน (จำนวน 99 คน) 18. มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มเสี่ยง 2 ครั้ง (จำนวน 99 คน) 19. จัดประชุมให้ความรู้แก่ครัวเรือนที่มีกลุ่มเสี่ยง 1 ครั้ง (จำนวน 25 ครัวเรือน จำนวน 75 คน) 20. ประเมินความรู้ และประเมินสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 21. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ 22. รายงานผลตามโครงกานให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง 23. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการให้ความรู้ในการจักการหรือดูแลบสุขภาพของตนเอง ในการควบคุมป้องกันโรค การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง ติดตามและเยี่ยมบ้านดูแลกลุ่มเสี่ยง และเสี่ยงปานกลางทุกๆ 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนตระหนักและใส่ใจในการดุแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้โดเยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือวิถีชีวิตที่ก่อหรือเสริมการเป็นโรคได้ถูกต้องเหมาะสม
  2. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/หัวใจ/อัมพฤกษ์อัมพาต ลดลง
  3. อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิติสูง/เบาหวาน ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 13:50 น.