กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก หมู่ ๘ ต.ศาลาใหม่ ปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L2487-2-017
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอสม. ม.8 บ้านปูลาโต๊ะบีซู
วันที่อนุมัติ 29 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอสม. ม.8 บ้านปูลาโต๊ะบีซู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศาลาใหม่ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.282,102.008place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 111 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรค คือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่หมู่ ๘ บ้านปูลาโต๊ะบีซู เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล ๓ ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี ๒๕๕๗ พบผู้ป่วยสงสัยจำนวน๑ราย, ปี ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยสงสัยจำนวน ๑ ราย, ปี ๒๕๕๙ พบผู้ป่วยสงสัยจำนวน ๔ ราย และปี ๒๕๖๐ (ตั้งแต่ ม.ค. ๖๐-พ.ค.๖๐) พบผู้ป่วยสงสัย จำนวน ๓ ราย และพบผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๑ ราย จะเห็นได้ปัจจุบันมีการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว เพื่อไม่ให้มีการระบาดมากขึ้นของโรคไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายยุงลายและแหล่งเพาะพันธุ์ แก้ปัญหาเรื่องขยะชุมชนที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายที่สำคัญ โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันการะบาดของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

2 ข้อที่ ๒ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สมาชิก อบต. ตัวแทนครู ตัวแทนอบต.ศาลาใหม่ และอสม. จำนวน๒๗ คน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

3 ข้อที่ ๒ เพื่อลดอัตราการป่วย/ตายจากโรคไข้เลือดออก

๑.ลดอัตราการป่วย (ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนปชก)
๒.ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ ๑ เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ ๑. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
๒. จัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการเพื่อเสนออนุมัติ ๓. เตรียมข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออก ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕. ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและการจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกหมู่บ้าน ที่ประชุมผู้นำชุมชน ๖. จัดเตรียมสื่อการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการขยะ ๗. แต่งตั้งคณะทำงาน อสม.และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจและมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน ขั้นที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ ๘. ประชุมชี้แจงโครงการและหาแนวทางแก้ปัญหาข้อปฏิบัติร่วมกัน โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วน จนท.รพ.สต., จนท.สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ, จนท.รพ.ตากใบ, จนท.ฝ่ายปกครอง, จนท.อบต., จนท.โรงเรียน, อสม., และตัวแทนภาคประชาชน จำนวน ๒๗ คน
๙. จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. การจัดการขยะ และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม แก่กลุ่มตัวแทนชาวบ้าน จำนวน ๑๑๑ คน และกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมระหว่างเจ้าของบ้านและคณะทำงาน เพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้ ๑๐.กิจกรรมรณรงค์จัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและจัดการขยะครัวเรือนในชุมชน โดยมีการตรวจประเมินบ้านจัดการขยะ เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย ขั้นที่ ๓ สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล ๑๑. ประเมินผลการดำเนินงานและ สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ ๔ การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง ๑๒. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการรวบรวมและกำจัดขยะที่ถูกต้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี ๒. บ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ๓. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 15:33 น.