โครงการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพของพนักงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพของพนักงาน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม |
รหัสโครงการ | 63-L7250-01-3 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ( นายสุนทร ทองสม ) ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ |
วันที่อนุมัติ | 26 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 152,470.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ( นายสุนทร ทองสม ) ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 250 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด การเก็บขนสิ่งปฏิกูล โดยมีพนักงานปฏิบัติงาน จำนวน 240 คน การปฏิบัติงานเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนทำงาน เนื่องจากสุขภาพอนามัยเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของพนักงานจ้าง งานรักษาความสะอาดให้มีประสิทธิภาพเพราะพนักงานที่มีสุขภาพอนามัยที่ไม่ดีส่งผลให้ขาดงานหรือลาป่วยบ่อยจึงมีผลกระทบต่อหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ปัจจุบันการใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลนับวันจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและจากการตรวจสุขภาพของพนักงานจ้างกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในปี 2561 มีผู้เข้ารับการตรวจ จำนวน 59 ราย เป็นผู้หญิง 10 คน ผู้ชาย 49 คน จากพนักงานทั้งหมด 290 คน ผลการตรวจร่างกาย ดังตาราง ดังนั้น งานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวังปัญหาทางสุขภาพของพนักงาน จึงขอจัดทำโครงการเฝ้าระวังทางสุขภาพของพนักงาน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อสร้างความตระหนักให้บุคลากรดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 2.1 เพื่อให้พนักงานจ้างได้รับการตรวจสุขภาพ อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี 3.1 พนักงานจ้างได้รับการตรวจและทราบผลการตรวจสุขภาพ ร้อยละ 100 |
100.00 | |
2 | 2.2 เพื่อลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการทำงาน 3.2 ลดอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคของพนักงานรักษาความสะอาด ร้อยละ 100 |
100.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
1. สำรวจจำนวนพนักงานจ้างของงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนคร สงขลา
2. ศึกษาเกณฑ์การตรวจสุขภาพพนักงานจ้างของโรงพยาบาลสงขลา กระทรวงสาธารณสุข
3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ
ขั้นดำเนินการ
1. จัดเตรียมเอกสารในการตรวจสุขภาพพนักงานจ้างของงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา
2. ประชุมคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานกิจกรรม โครงการ
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและความปลอดภัยในการทำงาน
5. ตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
6. ติดตามผลการตรวจและแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้พนักงานจ้างได้รับทราบ
7. ส่งต่อการรักษาของพนักงานจ้างที่มีผลการตรวจผิดปกติ
ขั้นเตรียมการ
1. สำรวจจำนวนพนักงานจ้างของงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนคร สงขลา
2. ศึกษาเกณฑ์การตรวจสุขภาพพนักงานจ้างของโรงพยาบาลสงขลา กระทรวงสาธารณสุข
3. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณ
ขั้นดำเนินการ
1. จัดเตรียมเอกสารในการตรวจสุขภาพพนักงานจ้างของงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครสงขลา
2. ประชุมคณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานกิจกรรม โครงการ
3. ประสานงานกับโรงพยาบาลสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองและความปลอดภัยในการทำงาน
5. ตรวจสุขภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
6. ติดตามผลการตรวจและแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้พนักงานจ้างได้รับทราบ
7. ส่งต่อการรักษาของพนักงานจ้างที่มีผลการตรวจผิดปกติ
9.๑ พนักงานจ้างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและสามารถตนปฏิบัติได้ถูกต้อง
9.2 พนักงานจ้างในงานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
9.3 งานรักษาความสะอาด กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีพนักงานจ้างที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง พร้อมที่จะปฏิบัติงานให้อย่างเต็มที่มีศักยภาพและมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2563 14:16 น.