กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา


“ โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ”

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
(นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ

ที่อยู่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 63-L7250-01-4 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ " ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 63-L7250-01-4 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 18,120.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร เด็กซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญา และส่งเสริมให้คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองได้เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง และกระตุ้นพัฒนาการตามวัยของเด็กๆ ให้มีร่างกายทีแข็งแรงเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
เป้าหมายคัดกรองพัฒนาการตามช่วงอายุ ของศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ปีงบประมาณ ๒๕๖2  มีจำนวนทั้งหมด 76 คน ได้รับการคัดกรองพัฒนาการเด็ก จำนวน 72 คน พบเด็กที่มีพัฒนาการปกติ 50 คน และพัฒนาการล่าช้า 22 คน (9 เดือน = 6 คน , 18 เดือน = 7 คน , 30 เดือน = 3 คน , 42 เดือน = 6 คน) คิดเป็นร้อยละ 69 และ 31 ตามลำดับ โดยพบในช่วงอายุ 9 – 42 เดือน แบ่งเป็นล่าช้าด้านการเคลื่อนไหว 5 คน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา 9 คน ด้านการเข้าใจภาษา 6 คน ด้านการใช้ภาษา 1 คน และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม 1 คน (ฐานข้อมูล HDC จังหวัดสงขลา วันที่ 2 มกราคม 2563) ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ ได้กระตุ้นติดตามพัฒนาการจนผ่านเกณฑ์ทุกคน จากการทำงานในชุมชนพบว่าผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดอุปกรณ์ในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ  ในการนี้ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย
  2. ๒. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 117
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    เด็กในพื้นที่ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ มีการเจริญเติบโต สมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง และมีพัฒนาการสมวัย


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ๒. แต่งตั้งคณะทำงานประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ๐-5 ปี
    ๓. ประชุมชี้แจงแนวทางและวิธีการประเมินพัฒนาการเด็ก     ๓. ตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ประเมินพัฒนาการเด็กและกระตุ้นพัฒนาการในราย ที่พัฒนาการล่าช้า ๔. สรุปผลการดำเนินงาน การดำเนินกิจกรรมพัฒนาการได้แนะนำคู่มือการประเมินพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงอายุและแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการประเมินพัฒนาการ รวมถึงการสาธิตวิธีการประเมินพัฒนาการ ซึ่งผลการดำเนินงาน ดังนี้

     อายุ 9 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 ราย
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 34 ราย ร้อยละ 85
    - พัฒนาการล่าช้า จำนวน 6 ราย ร้อยละ 15

     อายุ 18 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 22 ราย
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 17 ราย ร้อยละ 77.27 - พัฒนาการล่าช้า จำนวน 5 ราย ร้อยละ 22.72

     อายุ 30 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 19 ราย
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 11 ราย ร้อยละ 57.89 - พัฒนาการล่าช้า จำนวน 8 ราย ร้อยละ 42.10

     อายุ 42 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 21 ราย
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 17 ราย ร้อยละ 80.95 - พัฒนาการล่าช้า จำนวน 4 ราย ร้อยละ 19.04

     อายุ 60 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6 ราย
    - พัฒนาการสมวัย จำนวน 6 ราย ร้อยละ 100

    สรุปผลการประเมินพัฒนาการเด็กตามกลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 107 ราย พัฒนาการสมวัย จำนวน 87 ราย  ร้อยละ 81.30 และพัฒนาการล่าช้า จำนวน 22 ราย ร้อยละ 20.56 กลุ่มเป้าหมายที่มีพัฒนาการสมวัย  มากที่สุด คือช่วงอายุ 60 เดือน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6 ราย พัฒนาการสมวัย จำนวน 6 ราย ร้อยละ 100 รองลงมาคือช่วงอายุ 9 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 39 ราย พัฒนาการสมวัย จำนวน 34 ราย ร้อยละ 85 และช่วงอายุ 42 เดือน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 21 ราย พัฒนาการสมวัย จำนวน 17 ราย ร้อยละ 80.95ตามลำดับ ผลการดำเนินกิจกรรมตรวจร่างกาย โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอวก่อนการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นติดตามกรณีพัฒนาการล้าช้า และนำไปเปรียบเทียบกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตเด็ก  อายุ 0 - 5 ปี จากสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 เกณฑ์อ้างอิง น้ำหนัก ส่วนสูง ดังนี้


     น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ จำนวน 12 ราย
    - อายุ 9 เดือน จำนวน 3 ราย ร้อยละ 25.0 - อายุ 18 เดือน จำนวน 3 ราย ร้อยละ 25.0 - อายุ 30 เดือน จำนวน 1 ราย ร้อยละ 8.3 - อายุ 42 เดือน จำนวน 4 ราย ร้อยละ 33.3

     น้ำหนักค่อนข้างมาก จำนวน 13 ราย
    - อายุ 9 เดือน จำนวน 2 ราย ร้อยละ 15.3 - อายุ 18 เดือน จำนวน 1 ราย ร้อยละ 7.6 - อายุ 30 เดือน จำนวน 1 ราย ร้อยละ 153 - อายุ 42 เดือน จำนวน 2 ราย ร้อยละ 15.3

     น้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 60 ราย
    - อายุ 9 เดือน จำนวน 25 ราย ร้อยละ 41.6 - อายุ 18 เดือน จำนวน 9 ราย ร้อยละ 15.0 - อายุ 30 เดือน จำนวน 11 ราย ร้อยละ 18.3 - อายุ 42 เดือน จำนวน 10 ราย ร้อยละ 16.6 - อายุ 60 เดือน จำนวน 5 ราย ร้อยละ 8.3

     น้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 5 ราย
    - อายุ 9 เดือน จำนวน 2 ราย ร้อยละ 40 - อายุ 18 เดือน จำนวน 2 ราย ร้อยละ 40 - อายุ 30 เดือน จำนวน 1 ราย ร้อยละ 2.0

     น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 17 ราย
    - อายุ 9 เดือน จำนวน 3 ราย ร้อยละ 17.6 - อายุ 18 เดือน จำนวน 7 ราย ร้อยละ 41.1 - อายุ 30 เดือน จำนวน 3 ราย ร้อยละ 17.6 - อายุ 42 เดือน จำนวน 4 ราย ร้อยละ 22.5

    จากผลการดำเนินกิจกรรมประเมินภาวะโภชนาการเด็ก อายุ 0 - 5 ปี ตามกลุ่มเป้าหมายประเมินพัฒนาการ ในชุมชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 10 ชุมชน มีทั้งหมด 107 ราย    ซึ่งพบมากที่สุด คือน้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 60 ราย ร้อยละ 56.07 รองลงมาคือ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์    จำนวน 17 ราย ร้อยละ 15.88 และเด็กที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก จำนวน 13 ราย ร้อยละ 12.14

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ
    100.00 100.00
    • กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพัฒนาการ ร้อยละ ๑๐๐ (จำนวนเด็ก 107 คน)
    2 ๒. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
    ตัวชี้วัด : ๒. ร้อยละ 100 เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ
    100.00 100.00
    • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ ร้อยละ ๑๐๐ (จำนวนเด็ก 22 คน)

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 117
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 117
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจพัฒนาการตามกลุ่มวัย (2) ๒. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ศูนย์บริการสาธารณสุขสระเกษ จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 63-L7250-01-4

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( (นางสาวเอมอร ไชยมงคล) ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด