โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ประจำปี 2563
ชื่อโครงการ | โครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ประจำปี 2563 |
รหัสโครงการ | 63-L8402-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ |
วันที่อนุมัติ | 4 มิถุนายน 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 5 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายประกอบ จันทสุวรรณ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.173,100.263place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 27 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ประเทศไทยถือเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุสูงกว่า 60 ปีสูงถึงร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 10.42 ล้านคน และจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completed Aged Society) เมื่อมีสัดส่วน ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี พ.ศ. 2578 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้จากข้อมูลการสำรวจการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2558 ยังพบว่า ผู้สูงอายุชาวไทยที่ทำงานมีสัดส่วนอยู่ร้อยละ 36.3 หรือคิดเป็นแรงงานสูงอายุ จำนวน 3.78 ล้านคน และจากการลงพื้นที่ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา พบว่าผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ในเขตเทศบาลตำบลคูหาใต้ ส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี มีสุขลักษณะที่ไม่เหมาะสม ขาดการดูแลสุขภาพที่ดีและมีความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการ เนื่องจากสภาพครอบครัวที่มีสถานะทางการเงินในระดับปานกลางถึงยากจน ลูกหลานหรือผู้ดูแลต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ปัจจุบันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ถูกทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง บางครั้งทำให้ผู้ป่วยมีการดำเนินของโรคมากยิ่งขึ้น และเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งหากจัดให้มีการอบรมพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงสำหรับผู้ดูแลนั้น อาจไม่สามารถกระทำได้ทั้งหมดตามกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากไม่สามารถทอดทิ้งผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะติดเตียงไว้เพียงลำพังได้ ดังนั้นการให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง โดยการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงและผู้ป่วยติดเตียง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานของรัฐและทีม สหวิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ต้องลงพื้นที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงในพื้นที่ เพื่อติดตามดูแลอาการเจ็บป่วย สุขอนามัยส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการเจ็บป่วย ซึ่งอาจลุกลามได้หรือเป็นสาเหตุก่อให้เกิดการเจ็บป่วย ประกอบกับอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ตามข้อ (19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลคูหาใต้ จึงได้จัดทำโครงการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างเหมาะสมทั่วถึงและต่อเนื่อง เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก แก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง และเพื่อค้นหาปัญหาและส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายของรัฐในการดำเนินงานบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ ตลอดจนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส ได้รับบริการด้านสาธารณสุขอย่างเหมาะสมทั่วถึง ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส (กลุ่มเป้าหมาย) ได้รับบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ร้อยละ 100 |
100.00 | |
2 | เพื่อให้บริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก แก่ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส (กลุ่มเป้าหมาย) ได้รับบริการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ร้อยละ 80 |
80.00 | |
3 | เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส (กลุ่มเป้าหมาย) ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงที่ด้อยโอกาส ร้อยละ 80 |
80.00 | |
4 | เพื่อค้นหาปัญหาและส่งต่เพื่อค้นหาปัญหาและส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายของรัฐในการดำเนินงานบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพอข้อมูลให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายของรัฐในการดำเนินงานบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพ ทราบถึงปัญหาด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ร้อยละ 90 |
90.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
13 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 | กิจกรรมการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง | 27 | 10,000.00 | - | ||
รวม | 27 | 10,000.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ ซึ่งกำหนดวันและเวลาในการลงเยี่ยมบ้านของแต่ รพ.สต. ทั้ง 3 แห่ง 2. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง 3. ชี้แจงแผนการดำเนินงานในการลงเยี่ยมบ้านให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคูหาใต้, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver : CG), คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลคูหาใต้ และผู้นำชุมชน ทราบถึงแผนการดำเนินงาน เพื่อดำเนินการลงเยี่ยมบ้าน พร้อมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลคูหาใต้, 4. ดำเนินการลงเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง พร้อมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต., อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่, เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลคูหาใต้, ทีมสหวิชาชีพ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver : CG), คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลคูหาใต้ และผู้นำชุมชนโดยการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงด้านการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต และภาวะโภชนาการ ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในลักษณะต่างๆของโรคในแต่ละคน และวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออกในช่วงฤดูการระบาด พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในเรื่องของการดูแลสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย 5. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบ 6. นำข้อมูลสภาพการเจ็บป่วยหรือปัญหาด้านสุขภาพ ส่งต่อในรายที่มีความต้องการส่งต่อ ณ โรงพยาบาลรัตภูมิ ขั้นประเมินผล 1.สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไข 2.สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
๒. กลุ่มเป้าหมาย ได้รับการส่งเสริม และฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๓. กลุ่มเป้าหมายไม่ถูกทอดทิ้งได้รับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายของรัฐในการดำเนินงานบูรณาการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพบุคลากรทางการแพทย์ ๔. กลุ่มเป้าหมาย และผู้ดูแลมีขวัญกำลังใจและมีสุขภาพจิตที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2563 15:14 น.