กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่ 2 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3071-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัสมา มะดิเยาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตติญา ่คงมาก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน  สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85
      จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญและส่งผลกระทบ โดยพบว่าปัญหามารดาและทารกเสียชีวิตยังมีอัตราที่สูงกว่าในพื้นที่อื่นๆ และสูงกว่าค่าเป้าหมายต่างประเทศ  ปัญหาเด็กมี IQ ต่ำ ข้อมูลการสำรวจ IQ เฉลี่ยของเด็กในจังหวัดปัตตานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 88.32 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในประเทศ ด้านโภชนาการเด็ก 0-5 ปี อันเนื่องมาจาก ด้านโภชนาการ ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การกระจายอาหาร และความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ส่งผลให้เด็กมีความเจริญที่ไม่สมส่วน โดยพบ เด็กเตี้ยร้อยละ 17.50 เด็กผอมร้อยละ 7.16 เนื่องจากขาดสารอาหารเรื้อรัง  ปัญหาทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานีได้มีการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเด็ก 0-5 ปี คือ เด็กอายุ 18 เดือน และเด็ก 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มปราศจากโรคฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดแต่ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับระดับประเทศ (เด็ก 3 ขวบ ปราศจากฟันผุร้อยละ 50.6)  ปัญหากลุ่มโรคติดต่อในเด็กที่เกิดจากไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ เช่น ไอกรน คอตีบ เป็นต้น สาเหตุของผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังมีความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่ผิดๆ เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ฉีดวัคซีนแล้วทำให้เด็กเป็นไข้ เป็นต้น ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 75.72 ได้รับวัคซีน MMR1 1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 80.20 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 67.78 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 71.22 วัคซีน JE2 ร้อยละ 73.39 วัคซีน JE3 ร้อยละ 60.47 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 72.28 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 62.76
      จากข้อมูลดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani smart kids เพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันดี       จากข้อมูลการปฏิบัติงาน 4 กิจกรรมในเด็กอายุ 0- 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปีงบประมาณ 2562 พบว่า เด็ก 0-5 ปี อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 90.55 ได้รับวัคซีน MMR1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 90.55 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 70.00 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 65.29 วัคซีน JE2 ร้อยละ 75.97 วัคซีน JE3 ร้อยละ 75.73 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 79.61 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 65.64 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนในแต่ละช่วงอายุ ด้านโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 72.68 มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.92 และเด็กอายุ 3-5 ปี ยังมีฟันผุ ร้อยละ 65.54       จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 กิจกรรมในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละเด็ก Smart Kids ผ่านครบทั้ง 4 ด้าน เพ่ิ่มขึ้น

 

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 90 18,000.00 1 18,000.00
30 ก.ย. 63 ประกวดหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่ 2 ปี 2563 90 18,000.00 18,000.00

กิจกรรมที่ 1
1. ประชุมชี้แจงแกนนำอสม. อสม.Smart kids หมู่ละ 2 คน ในบทบาทการทำงานด้าน Smart kids กิจกรรมที่ 2 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี ที่เข้าเกณฑ์ 2. รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 3. เปิดรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 4. จัดดำเนินการกิจกรรมประกวดโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 5. สรุปประเมินโครงการเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก Smart kids 0-5 ปี ต.ลิปะสะโง ผ่าน ครบทั้ง 4 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. ผุ้ปกครองเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการดูแลเด็กในปกครองได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 10:58 น.