กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องชีวนิสัยของยุง  โรคไข้เลือดออก  การป้องกันโรคไข้เลือดออก  การสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย/การใช้ทรายทีมีฟอส  การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยสมุนไพร/ปลากินลูกน้ำ  เมื่อวันที่  27  กรกฎาคม  2560  ณ ชุมชนป่ามะพร้าว  มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 50 คน  โดยมีวิทยากรจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 จ.ตรัง  มาให้ความรู้ดังกล่าว  ซึ่งจากกิจกรรมดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน/แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้  ความเข้าใจในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น
  2. กิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน  ซึ่งได้เดินรณรงค์แจกแผ่นปลิวความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วย 5 ป 1 ข คือ  ปิด : ปิดภาชนะน้ำขัง  ปล่อย : ปล่อยปลากินลูกน้ำ เปลี่ยน : เปลี่ยนน้ำในภาชนะทุก 7 วัน  ปรับปรุง : ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในและรอบบ้าน  ปฏิบัติ : ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ ขัด : ขัดภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำกำจัดไข่ยุง  พร้อมใส่ทรายอะเบทในภาชนะเก็บน้ำใช้และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน  นอกจากนี้ยังประชาสัมพันธ์ให้ชาวชุมชนช่วยกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ภายในบ้าน และบริเวณนอกบ้านทุกหลังคาเรือน
  3. มีธนาคารปลา (ปลาหางนกยูง) ในชุมชน โดยอยู่ที่ ศสมช.ชุมชนป่ามะพร้าว  เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนได้นำไปเลี้ยง
  4. กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดย อสม. เป็นประจำทุกเดือน  เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง/ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน  โดยข้อมูลการสำรวจตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม  2560  มีผลการสำรวจหาค่า  HI  CI และ BI ในชุมชนป่ามะพร้าว ดังนี้ เดือน จำนวนบ้านที่สำรวจ (หลัง) ค่า HI ค่า CI ค่า BI มกราคม  2560 103 17.47 2.69 21.35 กุมภาพันธ์  2560 86 17.44 3.24 23.25 มีนาคม  2560 105 11.42 1.62 12.38 เมษายน  2560 112 16.07 2.26 16.96 พฤษภาคม  2560 109 12.84 2.43 17.43 มิถุนายน  2560 107 9.34 1.89 9.34 กรกฎาคม  2560 110 11.81 1.96 14.54 สิงหาคม  2560 108 13.88 2.26 17.59 เฉลี่ย 13.78 2.29 16.60 จากผลการสำรวจดังกล่าวพบว่าค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) สูงที่สุด  ในเดือนมกราคม  2560  ร้อยละ 17.47  และเดือนมิถุนายน 2560 น้อยที่สุด  ร้อยละ 9.34 สรุปโดยภาพรวมค่า HI เท่ากับ  13.78  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  ( HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ) ส่วนค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในภาชนะใส่น้ำ  (CI)  โดยภาพรวมเท่ากับ  2.29  (ค่ามาตรฐาน  CI เท่ากับ 0)  และคาดัชนีลูกน้ำยุงลายที่พบในภาชนะต่างๆ ในครัวเรือน (BI)  โดยภาพรวมค่า BI เท่ากับ 16.60  (เกณฑ์ค่า BI น้อยกว่า 50)  ซึ่งโดยสรุปมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไขเลือดออก
    จากการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ  ทางชุมชนป่ามะพร้าวไม่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน  และยังคงดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง  โดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน  โดย อสม./แกนนำสุขภาพในชุมชน
  5. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ  จำนวน  15,900 บาท  ดังนี้ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

- ค่าวิทยากรบรรยาย 6 ชม. x 600 บ./ชม.     เป็นเงิน  3,600  บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 70 บ.x 1 มื้อ     เป็นเงิน  3,500  บาท - ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม 50 คน x 30 บ.x 2 มื้อ     เป็นเงิน  3,000  บาท - ค่าป้ายโครงการ 1 ผืน (ขนาด 1.002.50 ม.)         เป็นเงิน    300  บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แผ่นปลิวความรู้     เป็นเงิน    300  บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง     เป็นเงิน  1,800  บาท กิจกรรมเดินรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 3 ผืน (ขนาด 12.50 ม.)        เป็นเงิน    900  บาท - ทรายอะเบท     เป็นเงิน  2,500  บาท จัดตั้งธนาคารปลาในชุมชน  (ไม่มีค่าใช้จ่าย) กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน  (ไม่มีค่าใช้จ่าย) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  15,900.-  บาท  (หนึ่งหมื่นห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ  :  ทางกลุ่ม อสม.ชุมชนป่ามะพร้าว ไม่ขอเบิกเงินส่วนเกิน จำนวน 100 บาท ขอเบิกจ่ายเพียง 15,800 บาทเท่านั้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพ ในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ประชาชน/แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 50 คนมีความรู้ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกําจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน
ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน House Index น้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10)

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้มีศักยภาพ ในการช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก (2) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกําจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านเรือนและชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh