กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงวัณโรค ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63 -L1515-01– 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 15 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจิตติมา สังข์สุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้จัดกลุ่มประเทศที่มีภาระวัณโรคสูง (High Burden Country Lists) เป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคสูง (TB) 2) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อ เอช ไอ วีสูง (TB/HIV) และ 3) กลุ่มที่มีจำนวนและอัตราป่วยดื้อยาหลายขนานสูง (MDR-TB) ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศ ที่มีปัญหาวัณโรคสูงทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวมาโดยปีพ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) มีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรค(Incidence) ให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากรโลกภายในปี พ.ศ. 2578ผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ของประเทศไทยประมาณ 120,000 รายต่อปี หรือคิดเป็น 172 ต่อประชากรแสนคนการจะบรรลุเป้าหมายยุติวัณโรค(The End TB Strategy)นั้น ประเทศไทยต้องมีอัตราลดอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ12.5 ต่อปี แต่ระยะ 15 ปีที่ผ่านมา(พ.ศ.2543-2558) มีอัตราลดลงของอุบัติการณ์เพียงร้อยละ 2.7 ต่อปีนอกจากนี้ จากการสำรวจทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ซึ่งผู้ป่วยที่ตรวจพบและรายงานมีเพียงร้อยละ 59 ของที่คาดประมาณเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าผู้ป่วยยังเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงการรักษาอย่างล่าช้าทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน ส่งผลให้อัตราป่วยลดลงได้เพียงช้าๆเท่านั้น           จากทะเบียนงานควบคุมโรคติดต่อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2562 พบผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 3 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานจำนวน 1 ราย ดังนั้น ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้ได้ผลทั้งในเชิงป้องกัน และแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บ้านคลองมวน จึงได้จัดทำกิจกรรมค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกควบคุมกลุ่มป่วย และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงประจำปี2563 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนมิให้มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้าง ป้องกันโรคล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรค และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไปได้ทราบ และเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรค โดยบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรังโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วย และการแพร่กระจายของโรค 2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการป้องกันโรค 4.เพื่อพัฒนาระบบการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

1.อัตราป่วยในพื้นที่ลดลง 2.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรควัณโรค 3.ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการป้องกันโรค 4.ร้อยละ 100 มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่และอสม.ในเขตรับผิดชอบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,900.00 1 4,900.00
30 เม.ย. 63 - 31 ส.ค. 63 1.กิจกรรมให้ความรู้สถานการณ์/ความรุนแรงของโรควัณโรค 2.กิจกรรมอบรบให้ความรู้เรื่อง“การป้องกันและการสังเกตอาการของโรควัณโรค” 3.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่อง “ต้องทำอย่างไรเมื่อเป็นวัณโรค” 4.ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และค้นหาผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคในชุมชน 5.ติดตาม 0 4,900.00 4,900.00
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
  2. ติดต่อประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.
  4. ประสานงานจัดเตรียมสถานที่จัดทำกิจกรรม
  5. ประสานวิทยากรในการฝึกอบรม
  6. จัดกิจกรรมโครงการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงวัณโรค ประจำปี 2563
  7. ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และค้นหาผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรคในชุมชน
  8. ประเมินผลและรายงานการดำเนินโครงการฯต่อประธานคณะกรรมการกองทุนฯตำบลหนองปรือ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการป้องกันโรค     2.ผู้ป่วยสงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจยืนยันและเข้ารับการรักษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2563 16:53 น.