กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวสัมพันธ์
รหัสโครงการ 60-L5292-02-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลทุ่งบุหลัง
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 เมษายน 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,072.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลทุ่งบุหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ทุ่งบุหลัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งบุหลัง อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.047,99.692place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (16,072.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“ครอบครัว” เป็นสถาบันแรกเริ่มที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นสถาบันพื้นฐานที่บทบาทสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ทุกคนในสังคม เป็นสถาบันแรกที่ทำหน้าที่ทางสังคมในการถ่ายทอดค่านิยมปลูกฝังความเชื่อสร้างเสริมทัศนคติ กำหนดบุคลิกภาพ วิธีประพฤติปฎิบัติตนรวมทั้งการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมให้แก่สมาชิกรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ นอกจากนี้รวมครอบครัวยังเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือดูแลเยียวยาบำบัดฟื้นฟู ในยามที่ต้องเผชิญกับปัญหา วิกฤตที่มากระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า ครอบครัวเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญในการพัฒนาคนและประเทศชาติให้เจริญมั่นคงอย่างยังยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องความเป็นครอบครัวที่เข้มแข็งที่มีระบบเครือญาติและสายใยผูกพันมาช้านาน อย่างไรก็ตาม บทบาทของสถาบันครอบครัวเริ่มมีแนวโน้มอ่อนแอลง ไม่สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทำให้เกิดปัญหาสังคมในรูปแบบต่างๆ เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากครอบครัว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมีมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุในชนบทเป็นจำนวนมากถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง หรือต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานเพราะพ่อแม่ต้องออกไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลทุ่งบุหลัง จึงได้จัดทำโครงการ“ครอบครัวสัมพันธ์” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวทั้งสามช่วง คือ วัยเด็กถึงวัยคู่ครอง วัยกลางคนถึงวัยพ่อแม่ และวัยสูงอายุ ได้มีปฏิสัมพันธ์ทำกิจกรรมร่วมกัน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจต่อกันมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการลดช่องว่างระหว่างวัยของคนในครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวแนบแน่น รักใคร่กลมเกลียวผูกพันกันมากยิ่งขึ้น ผู้สูงอายุมีการพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกิดการบูรณาการร่วมกันทั้งสามวัยมีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้มากขึ้นภายในครอบครัวสร้างความรัก ความสามัคคีและเพิ่มสายใยรักที่ดีต่อกันภายในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวได้ร่วมกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

การเข้าร่วมกิจกรรม

2 เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว

การเข้าร่วมกิจกรรม

3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักหากใช้ความรุนแรงกับครอบครัว

การเข้าร่วมกิจกรรม

4 เพื่อให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง

การเข้าร่วมกิจกรรม / แบบสอบถาม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 พ.ค. 60 ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในเรื่องบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวและสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 80 16,072.00 16,072.00
รวม 80 16,072.00 1 16,072.00

๓.๑ประชุมคณะกรรมการ/ผู้ประสานงาน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลทุ่งบุหลัง เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ ประจำปี ๒๕๖๐ กำหนดการกิจกรรม กำหนดกฎเกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ กำหนดและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ ๓.๒ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ๓.๓ประสานงานในการจัดหาสถานที่ในการจัดกิจกรรม โครงการ จัดหาวิทยากร ๓.๔จัดกิจกรรมอบรมตามกำหนดกิจกรรมโดยแบ่งกิจกรรมโครงการออกเป็น ๓ส่วนดังนี้ ๑. กิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการพร้อมทั้งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรู้จักกันมากยิ่งขึ้น กิจกรรมละลายพฤติกรรมอาจเป็นกิจกรรมง่าย ๆ และสร้างความสนุกสนาน เช่น ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแนะนำตนเองสั้น ๆ การเล่นเก้าอี้ดนตรี การปรบมือสร้างความพร้อมเพรียง การเต้นตามจังหวะเพลง เป็นต้นและเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในแต่ละส่วน สลับกับผู้ให้ข้อมูลหลัก ๒. กิจกรรมด้านครอบครัวดังนี้ - บรรยาย เรื่องสุขภาวะทางจิตของแต่ละวัย - บรรยาย เรื่องวัยและการเปลี่ยนแปลง - บรรยาย เรื่องเทคนิคการใช้ชีวิตอย่างมีสุข ๓. สรุปประเด็นทั้งหมดพร้อมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑ เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกครอบครัวได้ร่วมกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ๗.๒ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว ๗.๓ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความตระหนักหากใช้ความรุนแรงกับครอบครัว ๗.๔ เพื่อให้สถาบันครอบครัวมีความเข้มแข็ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2560 10:02 น.