กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ห่างไกล ไร้ภาวะโลหิตจางปีที่ 2 ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L3071-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาสินี เปาะฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัตติญา คงมาก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.805,101.231place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้และปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสำคัญในประเทศที่กำลังพัฒนา สารอาหารที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง และพบได้บ่อยคือ การขาดธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน ซึ่งทำหน้าที่จับกับออกซิเจนและส่งให้ทุกเซลล์ในร่างกาย หากหญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางแล้วจะทำให้คลอดทารกก่อนกำหนด ทำให้เกิดทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารก ซึ่งจากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของตำบลลิปะสะโง ปี 2561 พบว่า อัตราหญิงหญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางร้อยละ 12.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ 10) และอัตราหญิงตั้งครรภ์คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 9.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด (ไม่เกินร้อยละ 7) ในปี 2562 หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะโลหิตจางมีแนวโน้มที่ลดลง ร้อยละ 10 (ไม่เกินร้อยละ 10) และอัตราหญิงตั้งครรภ์คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 2.78 (ไม่เกินร้อยละ 7) เพื่อการแก้ไขปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และเป็นการพัฒนาการให้บริการระบบงานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง การปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสม ของมาตรฐานการบริการสาธารณสุข ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการ สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ     ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ตัวชี้วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณภาพหญิงตั้งครรภ์ห่างไกล ไร้ภาวะโลหิตจางปีที่ 2 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจนหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ที่ถูกต้องในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาที่มีความสำคัญต่อทารกที่จะเป็นเยาวชนของชาติ อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์มีความรู้และปลอดภัยจากภาวะโลหิตจางเพิ่มขึ้น

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 15,000.00 2 15,000.00
27 ส.ค. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ห่างไกล ไร้ภาวะโลหิตจาง ตำบลลิปะสะโง 60 7,720.00 7,720.00
27 ส.ค. 63 ติดตามให้แก่หญิงตั้งครรภ์หลังอบรม 60 7,280.00 7,280.00
  1. ให้อาสาสมัครสาธารณสุขแต่ละหมู่ชี้แจงแก่หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ
  2. จัดกิจกรรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์กลุ่มย่อยเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันและและแก้ไขภาวะโลหิตจางให้แก่ตนเอง
  3. ให้เจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามหญิงตั้งครรภ์ในเรื่องการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก การบริโภคอาหารที่ถูกต้องและเจาะเลือดดูความเข้มข้นของเลือด
  4. จัดประกวดหญิงตั้งครรภ์สุขภาพดี
  5. สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลลิปะสะโงมีความรู้ความสามารถดูแลตนเองในระหว่างตั้งครรภ์และมีความปลอดภัยจากภาวะโลหิตจาง
  2. หญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลลิปะสะโงมีความรู้และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก
  3. มารดาคลอดน้ำหนักทารกน้อยกว่า 2,500 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 7
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2563 11:12 น.