กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังพัฒนาการและทันตสุขภาพในเด็กอายุ 3– 5 ปี ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2481-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 17,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 177 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พัฒนาการและทันตสุขภาพของเด็กอายุ 3 – 5 ปี นับเป็นสิ่งสำคัญ พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคนเช่นกัน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถ พบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก
ดังนั้นเพื่อให้การเสริมสร้างพัฒนาการและการดูแลทันตสุขภาพเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น3

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 3 – 5 ปีได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง

เด็ก 3 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย  ร้อยละ 99

0.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้รับการดูแลเรื่องทันตสุขภาพ

เด็ก 3 – 5 ปี มีฟันไม่ผุ  ร้อยละ 50

0.00
3 เพื่อเฝ้าระวังและประเมินพัฒนาการและทันตสุขภาพของเด็กอายุ 3 – 5 ปี อย่างต่อเนื่อง

เด็ก 3 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและตรวจทันตสุขภาพ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,700.00 1 17,700.00
3 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปี ในชุมชน 0 17,700.00 17,700.00
  1. ชี้แจงโครงการแก่ ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการในหมู่บ้าน
  3. จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 3 – 5 ปีในชุมชน จำนวน 168 คน ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการตามวัย การกระตุ้นพัฒนาการ การดูแลทันตสุขภาพและการพัฒนาไอคิวเด็กอายุ 3 – 5 ปี พร้อมตรวจประเมินพัฒนาการและสาธิตการแปรงฟัน
  4. ตรวจประเมินพัฒนาการและทันตสุขภาพเด็กอายุ 3 – 5 ปีในหมู่บ้านพร้อมให้สุขศึกษา
  5. ประเมินและสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 3 – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย
  2. เด็กอายุ ๓ – 5 ปี มีทันตสุขภาพที่ดี
  3. เด็กอายุ ๓ – 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 00:00 น.