กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2481-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยง
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมศรี พงษ์พานิชย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 629 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรกและ ในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smearในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30- 60ปีทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ จากการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕8 –๒๕๖2 ในกลุ่มสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก สะสม ๕ ปี จำนวน 535 คน คิดเป็นร้อยละ 84.67 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะเหลี่ยงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 ขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึง บริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

0.00
2 ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพ

สตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมรายปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยระยะเริ่มแรก เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ลดอัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะที่ 3 และระยะที่ 4

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึง บริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐาน อย่างมีคุณภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อค้นหาผู้ป่วยระยะเริ่มแรก เพื่อให้สตรีที่ตรวจพบสิ่งผิดปกติได้รับการส่งต่อและเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

3 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดกิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยการจัดบูธนิทรรศการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป 25,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินตามโครงการ 1.แต่งตั้งคณะทำงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ อสม. ผู้นำชุมชน 2.อสม.สำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของบประมานสนับสนุนในการดำเนินโครงการ 4.จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินการตามโครงการ 5.เจ้าหน้าที่ และ อสม.ในเขตรับผิดชอบติดตามและให้บริการคัดกรองเชิงรุกให้แก่ สตรีอายุ 30 – 60 ปี ในเขตรับผิดชอบ 6.จัดกิจกรรมเสียงตามสายประชาสัมพันธ์โครงการในหมู่บ้าน 7.จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย เข้ามารับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 8.จัดกิจกรรมมหกรรมรณรงค์คัดกรองเพื่อป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยการจัดบูธนิทรรศการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มสตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป
9.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สาธิต วิธีการตรวจเต้านมโดยท่าต่างๆ
10.คัดกรองกลุ่มเป้าหมายในสถานบริการทุกวัน
11.ส่งต่อกลุ่มป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติ พบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและรักษา ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 12.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินโครงการ 13.รายงานผลตามโครงการให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ขั้นที่ 4 การประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง 14.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถค้นหาความผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกต่อเนื่อง อย่างน้อย๓ปี
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 00:00 น.