กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ตำบลพิเทน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 เมษายน 2560 - 8 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรอิสล์หะยีแวเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายรอมซีสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน
ละติจูด-ลองจิจูด 6.679,101.467place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี อาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กวัยนี้เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นรากฐานของพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญและเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะสองปีแรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 4 ล้านคน จากการประเมินภาวะโภชนาการพัฒนาการเด็กในเด็ก 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน พบเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 26 ราย เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 6 ราย และสงสัยพัฒนาการล่าช้า 48 รายนอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็กเด็ก 0 – 5 ปี ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ ในการนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็ก 0 -5 ปี ตำบลพิเทน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำโครงการเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการและขออนุมัติ.....................................................
    1. กิจกรรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ในเรื่องดังนี้ 2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและพัฒนาการในแต่ละกลุ่มวัย 2.2 ฝึกให้ผู้ปกครองในการตรวจประเมินพัฒนาการเด็กด้วยตนเอง 2.2 การประเมินภาวะโภชนาการเด็ก โดยใช้กราฟโภชนาการในสมุดอนามัยแม่และเด็ก โดยผู้ปกครอง 2.3 สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็กตามบริบทพื้นที่
  2. กิจกรรมติดตามเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการและสงสัยพัฒนาการล่าช้าภายใน 30 วัน
  3. กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เด็กตัวอย่าง พัฒนาการสมวัย โภชนาการดี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี มีโภชนาการดีและมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย
  2. ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็กมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี
  3. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ
  4. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2560 11:28 น.