กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์แบบพอเพียงบนพื้นที่จำกัด ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L7258-2-47
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนชุมอุทิศ
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2563 - 14 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 51,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดา เถาสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เมื่อนึกถึงคนเมืองหลายคนมักนึกถึงผู้คนแต่งชุดทำงาน ถือกระเป๋าเอกสาร หน้าตาคร่ำเคร่ง กินแต่อาหารสำเร็จรูปจะเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เร่งรีบหรือจากสาเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้วิถีชีวิตและค่านิยมของพวกเขาเปลี่ยนไป จนขาดทักษะในการพึ่งพาตนเองในด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านอาหารที่ต้องพึ่งพิงตลาดเพียงอย่างเดียว การปลูกผักไว้บริโภคเองในครัวเรือนจึงเกิดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้คนเมืองสามารถพึ่งตนเองด้านอาหารได้มากขึ้นทั้งช่วยลดรายจ่าย ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและคนในในชุมชนแถมผักยังมีคุณค่าทางโภชนาการส่งผลดีต่อสุขภาพด้วยเพราะปัจจุบันอาหารต่างๆที่คนเมืองเลือกซื้อมักเต็มไปด้วยสารเคมีทั้งยังผ่านกระบวนการแปรรูปมาอีกหลายขั้นตอนทำให้คุณค่าทางอาหารน้อยลงนอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยแก้ปัญหาวิกฤตอาหารปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองซึ่งเป็นปัญหาโดยรวมของสังคมอีกด้วย ฉะนั้นการสนับสนุนกิจกรรมปลูกผักของคนเมืองเพื่อผลักดันให้เกิดกลุ่มคนหรือชุมชนให้นิยมหันมาสนใจรวมกลุ่มกันมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและแบ่งปันกันในระหว่างกลุ่มสร้างการพัฒนารูปแบบและนวัตกรรมการทำการเกษตรในเมืองให้สอดคล้องกับภูมินิเวศของพื้นที่ที่จำกัดของคนเมืองได้แก่ดาดฟ้า พื้นที่ว่างหน้าบ้าน เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ช่วยสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและที่สำคัญช่วยเก็บกักและชะลอน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักรวมถึงช่วยลดปัญหาเกาะความร้อนในเมืองได้อีกทางหนึ่ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อต้องการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มครัวเรือนชุมชนเป้าหมายดำเนินการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย เพิ่มมากขึ้น

0.00
2 เพื่อให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องเกษตรของคนในเมือง รณรงค์เผยแพร่แนวคิดและรูปธรรมสู่สาธารณะ

มีการรณรงค์และเผยแพร่แนวคิดและการดำเนินการเรื่องการเกษตรของคนเมือง เพิ่มมากขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 150 51,400.00 0 0.00
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 อาหารสำหรับพืชผัก 50 22,500.00 -
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 นวัตกรรมน้ำสำหรับพืชผักคนเมือง 50 8,500.00 -
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับคนเมือง 50 10,500.00 -
31 ก.ค. 63 - 14 ส.ค. 63 เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 0 9,900.00 -

1.กิจกรรมอาหารสำหรับพืชผัก 1.1 การทำน้ำหมักชีวภาพ 1.2 การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 1.3 การทำฮอร์โมนไข่ 2. กิจกรรมนวัตกรรมน้ำสำหรับพืชผักคนเมือง 3. กิจกรรมสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับคนเมือง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอยสำหรับกลุ่มครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่อง 2.มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค เสริมสร้างการเรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องเกษตรของคนในเมือง รณรงค์เผยแพร่แนวคิดและรูปธรรมสู่สาธารณะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2563 18:05 น.