กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้าน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L2503-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 45,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาง อัรรอฮะห์ มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.291,101.641place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่น้อยกว่า 12 ล้านคน แต่มีผู้เข้าถึงการรักษาและขึ้นทะเบียนเพียง 4 ล้านคน ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ได้เพียงร้อยละ 29.7 แสดงให้เห็นว่า มาตรการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา ยังไม่เพยงพอที่จะทำให้ความดันโลหิตในคนไทยลดลง ยังเกิดโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ที่ป่วยแล้วยังเข้าไม่ถึงบริการมากกว่าครึ่ง ตลอดจนการวินิจฉัยและการรักษาก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร การศึกษาในกลุ่มเสี่ยงไทยที่เป็นความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยให้อัตราการควบคุมความดันโลหิตได้เพิ่มมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันโลหิตที่วัดค่าความดันโลหิตที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 - 8 มม.ปรอท ในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring : HBPM) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์ จากการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิม ในปี 2562 พบกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง (ค่าระดับความดันโลหิต มากกว่าหรือเท่ากับ 130 ถึง น้อยกว่า 140 มม.ปรอท หรือ dbp มีค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 85 ถึง น้อยกว่า 90 มม.ปรอท) จำนวน 289 คน จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1,088 คน คิดเป็นร้อยละ 26.5 กลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม. ต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน โดยวัดตอนตื่นนอนตอนเช้า 2 ครั้ง และก่อนเข้านอน 2 ครั้ง เอาค่าที่ได้มาเฉลี่ย หากยังเกิน 130/90 มม.ปรอท จะต้องส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป เพราะหากปล่อยไว้จะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งมีผลต่อการเสียชีวิตอันดับต้นๆ เกิดภาวะพิการเป็นภาะในทุกมิติทั้งกาย จิต สังคม เศาษฐกิจต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเฉลิม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม. เพื่อดำเนินการควบคุมกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง ตามเกณฑ์การดูแลสุขภาพ "ใกล้นบ้าน ใกล้ใจ"

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรอง วินิจฉัย รักษาและติดตามค่าความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงที่มีความดันโลหิตสูง 2. เพื่อปรับเลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยา และติดตามผลของการใช้ยาและปรับพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยได้รับการติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 95

289.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD กลุ่ม HT,DM) สรุปรวบรวมผลการดำเนินงานพร้อมวิเคราะห์ปัญหากลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจติดตามที่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และหาแนวทางแก้ไข 2. จัดทำโครงการเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ขั้นดำเนินการ 1.ผู้รับผิดชอบโครงการ/คณะกรรมการ จัดทำปฏิทินดำเนินงาน 2. กำหนดวันประชุม ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงเพื่อเข้าร่วมโครงการ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2. ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง 3. ประสาน อสม.เพื่อติดตามและช่วยเหลือผู้ป่วยวัดความดันโลหิต พร้อมบันทึกค่าความดันโลหิตในช่วงเช้าและก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน 4. ส่งข้อมูลความดันให้กับทีมแพทย์ โรงพยาบาลระแงะ ตรวจสอบค่าความดันโลหิต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้การรักษา และควบคุมความดันโลหิต

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการติดตามโดย อสม. อย่างน้อย 7 วัน ได้รับการวินิจฉัย รักษา เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมและกลุ่มผู้ป่วยติดตามการใช้ยาและปรับพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เพื่อควบคุมค่าความดันโลหิต ร้อยละ 95

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563 10:07 น.