กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สี่กลุ่มวัย สืบสานสายใยศิลป์ ปรับเปลี่ยนการกิน สิ้นปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รหัสโครงการ 60-L3336-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน รพ.สต.บ้านหัวควน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 15 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภคประภาเพชรขวัญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านหัวควน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยต้องเผชิญภัยเงียบ จากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีสถิติผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด และมากกว่าครึ่งเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี สำหรับโรคที่มีอัตราผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง ซึ่งเกิดจาก 6 ปัจจัยเสี่ยง คือ เหล้า บุหรี่ อาหาร (หวาน-มัน-เค็มจัด) การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ความเครียด และกรรมพันธุ์ แต่ก็มีแนวทางในการป้องกัน ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ โดยเน้นที่การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวอง คือ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงอาหารหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มผักผลไม้การออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาที/วัน (5 ครั้ง/สัปดาห์) และอารมณ์ดี คิดบวก พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคได้ถึง ร้อยละ 80 บ้านหัวควนเป็นชุมชนแห่งศาสตร์และศิลป์ มีกิจกรรมการออกกำลังกายท่ามโนราห์ประยุกต์ มีกิจกรรมเต้นลีลาศ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาประเมินแล้วว่า เป็นกิจกรรมที่เพียงพอต่อการออกกำลังกาย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ะกิจกรรมนี้ประชาชนบ้านหัวควนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวน้อยมาก จากการสอบถาม ส่วนใหญ่คิดว่าท่ายากทำตามไม่ได้ แต่ก็สนใจ อยากร่วมออกกำลังกายด้วย ชมรมจิตอาสาพัฒนาชุมชน รพ.สต.บ้านหัวควน จึงได้จัดทำโครงการ สี่กลุ่มวัย สืบสานสายใยศิลป์ ปรับเปลี่ยนการกิน สิ้นปัจจัยเสี่ยงโรคเรื้อรัง ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำการออกกำลังกายแบบลีราห์บิคสี่กลุ่มวัย

มีการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบลีราห์บิค

2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอ
  1. จัดให้มีสถานออกกำลังกายของสี่กลุ่มวัยในชุมชน
  2. มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบลีราห์บิคทุกวัน เวลา 17.30-18.30 น.
  3. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเพียงพอ
3 เพื่อส่งเสริมการกินผัก ผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารหวาน มัน เค็ม (จัด)
  1. มีการจัดประชุมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.
  2. มีจัดประชุมเพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส.
  3. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมายกินผัก ผลไม้สดวันละอย่างน้อย 5 ขีดขึ้นไม (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารหวาน มัน เค็ม (จัด)
4 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อย่างน้อย 4 ระดับ

5 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในกิจกรรมออกกำลังกายแบบลีราห์บิค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.แต่งตั้งและประชุมคณะทำงานจัดทำและขออนุมัติโครงการ 3.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และท่าออกกำลังกายแบบลีราห์บิค
  2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4.1 ประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์โครงการ 4.2 จัดประชุมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส. 4.3 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบลีราห์บิค 4.4 จัดประชุมเพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ.2ส. 4.5 ขยายผล โดยการรับสมัครสมาชิกเพิ่มอย่างน้อย 1:1 4.6 เผยแพร่ผลงาน เช่น ในงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคฯ
  3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในสถานบริการ 5.1 จัดสถานที่และอุปกรณ์ส่งเสริมการออกกำลังกาย 5.2 จัดกิจกรรมออกกำลังกายแบบลีราห์บิคทุกวัน เวลา 17.30-18.30 น. 5.3 จัดมุมความรู้ในสถานบริการ
  4. ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงาน
  5. ประเมินผลและสรุปผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน มีการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพิ่มขึ้น
  2. ประชาชนกินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละครึ่งกิโลกรัมหรือผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง เพิ่มขึ้น
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2560 15:41 น.