กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดท่าบอน
รหัสโครงการ 2564-L5221-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบอน
วันที่อนุมัติ 17 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 26 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 26 มีนาคม 2564
งบประมาณ 3,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวาริน อินทรา
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.805891,100.358734place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2563 26 ก.พ. 2564 3,340.00
รวมงบประมาณ 3,340.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลัการและเหตุผลเด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในชีวิต เด็กจึงควรได้รับการเลี้ยงดูเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและเหมาะสมเพื่อให้เด็กมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และมีพัฒนาการตามวัย อย่างไรก็ตามจากสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่น้อยลง เด็กส่วนหนึ่งต้องมีปัญหาสุขภาพอนามัยซึ่งส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในด้านสติปัญญาและความสามารถในการเรียนรู้ โรคในเด็กเล็กนับเป็นปัญหาที่พบมาก อีกทั้งฟันผุในฟันน้ำนมมีการลุกลามถึงโพรงประสาทฟันได้รวดเร็วกว่าฟันแท้ เนื่องจากความหนาของเคลือบฟันและเนื้อฟันน้อยกว่าฟันแท้และฟันผุในระยะเริ่มแรกสามารถลุกลามเป็นรูผุได้ในเวลา ๖-๑๒ เดือนเด็กที่เริ่มมีฟันผุในอายุน้อยมีการลุกลามได้เร็วและเริ่มผุในช่วงขวบปีแรก อัตราการผุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑-๓ ปี จากรายงานการสำรวจกรมอนามัย กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก) สภาวะฟันน้ำนมผุ ปีพ.ศ.๒๕๕๗ ร้อยละ ๔๗.๗ ปีพ.ศ.๒๕๕๘ ร้อยละ๕๑.๕๑ และปีพ.ศ.๒๕๕๙ ร้อยละ ๖๘.๒๓ จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุไม่มีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กปฐมวัย ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองครูผู้ดูแลเด็กและบุคลากรสาธารณสุขหลายฝ่าย มาตรการทางวิชาการที่จะช่วยป้องกันการก่อตัวของเชื้อโรคและยังอาจหยุดหรือชะลอการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรกได้ได้แก่ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์และลดการบริโภคน้ำตาลการใช้สารฟลูออไรด์ชนิดทาร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความ เสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา ซึ่งการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กให้กับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก จะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในศูนย์เด็กเล็ก เพื่อให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กได้เห็นความสำคัญต่อฟันน้ำนม และพฤติกรรมในการดูแลช่องปากที่ถูกต้องจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าบอน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กก่อนวัยเรียนจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยด้านทันตสุขภาพ คือส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุและยับยั้งการเกิดฟันผุในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพเด็ก

ผู้ปกครองมีความรู้ ฝึกทักษะ และมีส่วนร่วมในการดูแลทันตสุขภาพเด็ก ร้อยละ 70

70.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 82 3,340.00 2 3,340.00
1 ต.ค. 63 - 26 ก.พ. 64 กิจกรรมการจัดซื้อวัสดุ สาธิต 44 2,320.00 2,320.00
23 ธ.ค. 63 อบรม 38 1,020.00 1,020.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกปฏิบัติสอนแปรงฟันไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 2. เด็ก 3-5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2563 16:03 น.