กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปี ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2481-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอร่าม อะมีเราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุ เป็นปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยโดยรวมของเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กเล็กที่ยังต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง โดยพบว่าปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนทางสังคมและการเข้าถึงแหล่งขายอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันเด็กและปัจจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง (วิชุดา คมขำและคณะ,2553. “พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยรียนของผู้ปกครองในเขต อำเภอสวี จังหวัดชุมพร”) จากผลการดำเนินงานด้านอนามัยแม่ละเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่า ข้อมูลของเด็กในปี 2559 เด็ก 0 – 6 เดือน จำนวน 104 คน เด็กอายุ 7 เดือน – 2 ปี ในคลินิกสุขภาพเด็กดีที่ รพ.สต. จำนวน 176 คน และเด็ก 3 – 5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 125 คน จากรายงานเด็กอายุครบ 3 ปีที่มารับบริการที่คลินิกเด็กดี จำนวน 2 คน มีฟันผุ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 50 เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 125 คน มีฟันผุ 96 คน คิดเป็นร้อยละ 76.8 ซึ่งเกิดจากการที่เด็กชอบรับประทานอาหารหวาน และพ่อแม่ไม่มีเวลาในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเนื่องจากมีน้อง ปัญหาการดูและสุขภาพอนามัยช่องปากของลูกน้อย ทาง รพ.สต. จึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ 4 เดือนของทารกโดยการใช้ถุงนิ้วมือทำความสะอาดเหงือก เด็กที่เกิดใหม่จะมีสุขภาพกายและฟันที่แข็งแรง เด็กได้รับการดูแลที่ดีและสร้างเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับทันตสุขภาพ นอกจากคุณแม่ที่ได้รับการฝึกฝนการแปรงฟันที่ถูกต้องจะส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีทั้งแม่และลูก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะท้อน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้องสามารถปฏิบัติตนเองและดูแลสุขภาพช่องปากของทารกส่งผลให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 2 ปีได้รับทันตสุขศึกษาและสามารถปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง

เด็กอายุ 0 – 2 ปีได้รับทันตสุขศึกษาและสามารถปฏิบัติด้านทันตสุขภาพของตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็ก 0 – 6 เดือนได้รับการดูแลด้านทันตสุขภาพโดยใช้ถุงนิ้วมือแปรงเหงือก

 

0.00
3 เด็กอายุ 3 – 5 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทันตสุขศึกษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 104 9,760.00 0 0.00
1 มี.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 อบรมให้ความรู้ 104 9,760.00 -

ขั้นที่ 1 เตรียมการก่อนดำเนินงานตามโครงการ 1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายให้เป็นปัจจุบัน ประสานงานกับเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนกลุ่มเป้าหมาย 2. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ ขั้นที่ 2 ดำเนินตามโครงการ
3. ตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กในคลินิกเด็กดีที่ รพ.สต.และที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4. ให้สุขศึกษารายบุคคลแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปีในคลินิกเด็กดี และสาธิตพร้อมแจกถุงนิ้วมือทำความสะอาดเหงือกเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนแก่ผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน 5. ให้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟัน แก่เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
6. ทาฟลูออไรด์วานิชแก่เด็ก 6 เดือน – 5 ปี ในคลินิกเด็กดีที่รพ.สต. และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ขั้นที่ 3 สรุปผลและวิเคราะห์ข้อมูล 7. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0 – 2 ปีได้รับทันตสุขศึกษาและสามารถปฏิบัติตัวด้านทันตสุขภาพของตนเองและบุตรได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อให้เด็ก 0 -6 เดือนได้รับการดูแลด้านทันตสุขภาพโดยใช้ถุงนิ้วมือแปรงเหงือกเกิดทัศนคติที่ดีในการดูแลช่องปากตั้งแต่เยาว์วัย
  3. เด็กอายุ 3 – 5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการดูแลด้านทันตสุขศึกษาจากเจ้าที่สาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2560 10:53 น.