กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอสม. ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L8287-1-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 24 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 50,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภิจิตร์ เตะหมัดหมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายกาดาฟี หะยีเด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาสในการสร้างนวัตกรรมการก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ “ ทศวรรษแห่งนวัตกรรมสาธารณสุขมูลฐาน”ของประเทศไทยที่ยังคงยืนยันในทิศทางการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและต้องการเห็นประชาชนสามารถแสดงบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สภาพแวดล้อมและสังคมโดยรวมได้อย่างยั่งยืน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกที่ดีและมีศรัทธาในการพัฒนา การพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐานในทศวรรษใหม่จะรวมกระบวนการพัฒนาสุขภาพอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยมีหัวใจของความสำเร็จอยู่ที่การพัฒนาคนให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล มีสติ รู้จักคิด มีวิธีคิดที่ถูกต้อง เพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ดังนั้นการ /ขับเคลื่อน... -2- ขับเคลื่อนงานสาธารณสุขมูลฐาน ในรูปลักษณ์ใหม่ที่สร้างความสมดุลระหว่างรูปแบบการให้บริการกับรูปแบบการพัฒนาที่ต้องอาศัย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นกระบวนการหรือตัวกลางที่จะนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือ ประชาชนแสดงบทบาท จึงต้องมีการปรับบทบาท อสม.จากบริการไปสู่การพัฒนาเพื่อสังคม
อสม.ต้องเป็นผู้มีจุดหมายปลายทางในการทำงาน และมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการบริหารนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับพื้นที่ เป็นผู้นำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งของตนเองและสร้างพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน ทั้งในงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลเบื้องต้น ตลอดจนการเฝ้าระวังสุขภาพและคัดกรองผู้ป่วย และสามารถรายงานเฝ้าระวังสงสัยในชุมชนได้ดี และเป็นผู้นำในการดูแลสภาวะแวดล้อมและรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน และสภาวะแวดล้อมของสังคม เตรียมและริเริ่มมาตรการทางสังคมใหม่ ที่จะมีผลต่อการขจัดหรือลดปัญหาทางสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการสร้างและใช้มาตรการทางสังคมและนวัตกรรมของชุมชน สร้างจิตสำนึกประชาชนในการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพและสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพอนามัยของชุมชน จากที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ อสม. เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดระบบเฝ้าระวังของชุมชน โดยเชื่อมประสานองค์กรปกครองท้องที่และท้องถิ่นในการสร้างและใช้มาตรการทางสังคมของชุมชน เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองก็มีอำนาจหน้าที่ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 16 (19) จึงจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนางานด้านสุขภาพแบบบูรณาการร่วมกันหลายฝ่ายหลายหน่วยงาน การพัฒนาทักษะความสามารถจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีการปรับปรุงพัฒนาให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยมุ่งพัฒนาผู้นำด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อเป็นแบบอย่างพฤติกรรมสุขภาพและเป็นแกนนำในการกระตุ้นประชาชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสุขภาพไปในทางที่ดีขึ้น นั่นคือ การมุ่งพัฒนา อสม.
ดังนั้น อสม. จึงต้องเพิ่มบทบาท ความรับผิดชอบ และพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม นำไปสู่การเป็นอสม.ที่พัฒนาสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลเทพาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสุขภาพชุมชน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. ขึ้น โดยใช้รูปแบบการอบรมและฝึกปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ และเรียนรู้จากการทำงาน โดยหวังว่าสื่อบุคคล คือ ตัว อสม. จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะของ อสม.ในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่

ประเมินความรู้หลังอบรมเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชุมชนได้รับบริการเชิงรุกโดยคนในชุมชน

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 300 50,300.00 2 29,050.00
1 ส.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ลงพื้นที่ดำเนินการคัดกรองสุขภาพประชาชน 150 9,000.00 0.00
10 - 11 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้อสม. 150 41,300.00 29,050.00

กิจกรรมที่ ๑ อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม.       - ประสานวิทยากรบรรยาย     - ประสาน อสม. ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม     - จัดเตรียมวัสดุในการจัดกิจกรรม     - ดำเนินการจัดอบรมตามโครงการ     - วิทยากรบรรยาย   - ร่วมทำกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ดำเนินงานในชุมชน - อสม.ร่วมกันรณรงค์เฝ้าระวังด้านสุขภาพในชุมชน โดยขอรถประชาสัมพันธ์จาก
  โรงพยาบาลเทพา และสนับสนุนแผ่นพับ ใบปลิว จากอบต.เทพา     - อสม. ปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรค และด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ
- จัดทำสรุปผลโครงการรายงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลเทพา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อสม.ได้รับการพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ 2 ชุมชนมีส่วนร่วมในการลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2563 13:48 น.