กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L1520-02-33
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านบางคราม
วันที่อนุมัติ 16 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 28,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิมาฏา เพ็ญศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 28,650.00
รวมงบประมาณ 28,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 180 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน 38 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม –26 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 80,427 ราย เสียชีวิต 2,712 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,666 ราย เสียชีวิต 2,664 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล16 ราย กลับบ้านแล้ว 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 60ของผู้ป่วยในประเทศไทย รวมสะสม 40ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563)

ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนุ้ย โรงเรียนบ้านบางคราม ซึ่งรับผิดชอบจัดการศึกษาให้กับเด็กเขตพื้นที่บริการ หมู่ที ๔ หมู่ที่ ๑๒ และหมู่ที่ ๑๓ ของตำบลอ่าวตง จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง และให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพตามสูงสุดเท่าที่สภาพแวดล้อมจะอำนวยโดยกระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นประสานความร่วมมืออย่างบูรณาการทุกภาคส่วนรวมถึงการใช้กลไกความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชนในการดูแลนักเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุด และอีกประการหนึ่งคือในการที่โรงเรียนสามารถเปิดทำการเรียนการสอนในสถานการณ์นี้ได้นั้น จะต้องดำเนินการตามมาตรการของกรมอนามัย ที่โรงเรียนจำเป็นและต้องปฏิบัติ เช่น ในมิติที่ ๑ เรื่องความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อ โดยโรงเรียนต้องมีวัสดุ อุปกรณ์เตรียมไว้อย่างเพียงพอ ได้แก่ จุดล้างมือด้วยสบู่อย่างเพียงพอ ต้องมีการวางเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคารเรียน หน้าประตูห้องเรียน อย่างเพียงพอ ต้องมีการทำความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วมกันทุกวัน มิติที่ ๒ การเรียนรู้ ต้องมีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี มิติที่๖ การบริหารการเงิน ต้องมีการประสานแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร เช่น ท้องถิ่น เพื่อดำเนินกิจกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ดังนั้นโรงเรียนบ้านบางคราม จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19)ในการเปิดเรียนเพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่นักเรียน เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19

นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันตนเอง ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อตรวจคัดกรองโรคและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19)

มีการตรวจคัดกรองโรคบริการนักเรียน  คณะครูและ ผู้มาติดต่อประสานกับโรงเรียน ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่นักเรียนและ ผู้เกี่ยวข้องครบ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 360 28,650.00 2 28,650.00 0.00
16 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมตั้งจุดคัดกรองโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)ก่อนเข้าสถานศึกษา 180 3,800.00 3,800.00 0.00
16 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมการเตรียมความพร้อม ดูแล รักษาความสะอาดและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) 180 24,850.00 24,850.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 360 28,650.00 2 28,650.00 0.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นตอนวางแผนงาน
- วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ตั้งจุดคัดกรองโรคโควิด-19 (COVID-19)ก่อนเข้าใช้บริการในโรงเรียน - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) - สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีอุปกรณ์สำหรับคัดกรองโรคโควิด-19เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19)
2.ลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาและสร้างความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรค 3.นักเรียน ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันควบคุมการระบาดได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2563 14:36 น.