กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เฉลิม


“ โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560 ”

ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
ชมรมออกกำลังกายตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560

ที่อยู่ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 60-L2503-02-02 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 11 มีนาคม 2560 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เฉลิม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 60-L2503-02-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 11 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 211,600.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เฉลิม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันระบบสุขภาพของไทยที่เน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาสนใจในการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชน โดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น การเดิน วิ่ง และปั่นจักรยานเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังเป็นการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จุดประกายและเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน ประชาชน หรือผู้ที่พบเห็นทั่วไป ได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกาย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
  2. 2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. 3. ประชาชนมีการออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง
  4. 4. ประชาชนมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพในชุมชน
  2. เดิน วิ่ง ปั่น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
  2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. ประชาชนมีการออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง
  4. ประชาชนมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย
  5. การออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานเป็นการประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชนเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม

วันที่ 11 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มแกนนำสุขภาพในชุมชน เกิดความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย และเห็นประโยชน์ของการออกกำลังกาย มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ทำให้เกิดกลุ่มของประชาชนในชุมชนออกกำลังกายเพิ่มขึ้นจากเดิมและต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มของนักปั่นจักรยานมือใหม่

 

400 400

2. ทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์

วันที่ 11 มีนาคม 2560 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ้างร้านทำป้ายไวนิลโครงการในการอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 1 ผืน ขนาด 1x4 เมตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลเฉลิม ได้รับทราบและมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการฯในครั้งนี้ ทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

 

0 0

3. อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพในชุมชน

วันที่ 11 มีนาคม 2560

กิจกรรมที่ทำ

การอบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชนครั้งนี้ได้จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการฯ เป็นเงิน 3,000 บาทและได้เช่าเครื่องขยายเสียงจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 3,000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ จำนวน 400 คน มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายและประโยชน์ของการออกกำลังกาย และสามารถเป็นแบบอย่างให้กับคนในชุมชนได้

 

400 0

4. ร่วมเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ

วันที่ 12 มีนาคม 2560 เวลา 07:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 12 มีนาคม 2560
เวลา 07.00 - 08.30 น.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการฯ เวลา 08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ โดยท่านประธานในพิธี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส (นายกูเซ็ง  ยาวอฮะซัน) เวลา 09.00 - 10.00 น. ผู้เข้าร่วมโครงการด้วยการเดินและวิ่ง ใช้ระยะทาง 4 กิโลเมตร ถึงจุดหมายปลายทาง ณ วนอุทยานน้ำตกซีโป และร่วมรับประทานอาหารว่าง เวลา 09.00 - 10.30 น. ผู้เข้าร่วมโครงการด้วยการปั่นจักรยาน ใช้ระยะทาง 40 กิโลเมตร ถึงจุดหมายปลายทาง ณ วนอุทยานน้ำตกซีโป และร่วมรับประทานอาหารว่าง เวลา 12.00 - 14.00 น. ร่วมรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 14.00 น. พิธีปิดโครงการฯ โดยท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเฉลิม (นายอับดุลมานะ  บือราเฮง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในพื้นที่ตำบลเฉลิม จำนวน 7 หมู่บ้าน เกิดความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ที่จะทำให้เกิดการมีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพดี และมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย จึงเกิดการร่วมกิจกรรมในโครงการฯ ครั้งนี้ โดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานตามความเหมาะสมของวัย ภายหลังการดำเนินโครงการฯ ทำให้เกิดกลุ่มออกกำลังกายมือใหม่เพิ่มขึ้น เช่น เกิดกลุ่มของการออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน ทำให้กิจกรรมของโครงการฯ บรรลุตามวัตถุประสงค์

 

2,000 2,000

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560 ในครั้งนี้ นับว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการหนึ่งของปีงบประมาณ 2560 เนื่องจากประชาชนมีการตื่นตัวในการสร้างสุขภาพโดยการออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยาน สังเกตได้จากการเกิดกลุ่มต่างๆ ของประชาชนในตำบล กลุ่มปั่นจักรยานของเด็ก กลุ่มปั่นจักรยานของประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี
ตัวชี้วัด : ประชาชนห่างไกลโรค
2000.00

 

2 2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด : ประชาชนออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมตามวัย

 

3 3. ประชาชนมีการออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ปรากฏกลุ่มของประชาชนที่ออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง ปั่น เพิ่มขึ้น

 

4 4. ประชาชนมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย
ตัวชี้วัด : ทุกกลุ่มอายุมีการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2000
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. ประชาชนมีสมรรถภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี (2) 2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม (3) 3. ประชาชนมีการออกกำลังกายโดยการ เดิน วิ่ง และปั่นจักรยานอย่างต่อเนื่อง (4) 4. ประชาชนมีการตื่นตัวในการออกกำลังกาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพในชุมชน (2) เดิน วิ่ง ปั่น

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการรณรงค์ เดิน วิ่ง ปั่น เพื่อสุขภาพตำบลเฉลิม ปีงบประมาณ 2560 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 60-L2503-02-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( ชมรมออกกำลังกายตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด