กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพฟันดี และไม่มีเหา 100 %
รหัสโครงการ 63-L1536-2-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านลำแพะ
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 16,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านลำแพะ(เงินรายได้สถานศึกษาโรงเรียนบ้านลำแพะ)
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.ปากแจ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.737,99.724place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 116 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) หากเรามองย้อนกลับสู่อดีตที่ว่า เด็กคืออนาคตของชาติ ปัญหาสุขภาพเด็กในปัจจุบันได้บั่นทอนเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติลดต่ำลงและด้วยโอกาสในเวทีต่างๆระดับโลก จากการวิเคราะห์ปัญหาสภาวะสุขภาพเด็กที่สำคัญได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโต พัฒนาการสมอง การมีภูมิคุ้มกันโรค และปัญหาสุขภาพด้วนทันตกรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันไม่ว่าเราจะมองในประเด็นใดๆก็ตาม เด็กในพื้นที่ชนบทจะด้อยกว่าเด็กจากภาคส่วนอื่นๆของประเทศไทย หากเราได้พิจารณาแล้วว่าจริงๆแล้วเรามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพฟันเด็ก การรักษาความสะอาดของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าให้กับเด็กเล็ก การเลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีการต่างๆ หากแต่เราไม่ได้วางระบบการเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขโดยเฉพาะการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแก่ผู้ปกครองในการดูแลรักษาความสะอาดให้กับบุตรหลานอย่างเพียงพอ นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแพะ จำนวน 116 คน มีภาวะฟันผุ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 48.28 ของนักเรียนทั้งหมด และมีนักเรียนหญิง จำนวน 48 คน ที่เป็นเหา คิดเป็นร้อย 41.38 ของนักเรียนทั้งหมด ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวหากเราไม่รีบดำเนินการหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหา นักเรียนโรงเรียนบ้านลำแพะพื้นที่ตำบลปากแจ่มมีแนวโน้มของการเกิดโรคเหาเพิ่มมากขึ้นจากเพื่อนสู่เพื่อนจากพี่สู่น้องและจากครอบครัวสู่โรงเรียนทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดได้ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลเสียและผลกระทบทางด้านสุขภาพของคนในตำบลปากแจ่ม  ดังนั้นทางโรงเรียนบ้านลำแพะ ได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กด้านการส่งเสริมความสะอาดของร่ายกายคือ ศรีษะและช่องปาก จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อต่อไปเด็กจะได้เป็นอนาคตที่ดีของชาติ โรงเรียนบ้านลำแพะจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเด็กและเพิ่มคุณภาพของการมีชีวิตของเด็กในพื้นที่โรงเรียนบ้านลำแพะได้เป็นอย่างดี วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ 2. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีแก่นักเรียน 3. จัดกิจกรรมกำจัดเหาให้นักเรียนและผู้ปกครองทั้งโรงเรียน 4. สำรวจความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ 5. สรุปผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ - ค่าไวนิลโครงการ 1.5x2 เมตร จำนวน 1 ผืน      เป็นงิน  450 บาท กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างถูกวิธีแก่นักเรียน - ค่าวิทยากร เป็นเงิน  600 บาท - ค่าแปรงสีฟัน ยาสีฟัน จำนวน 116 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 2,900 บาท - ค่าแก้วน้ำ  จำนวน 116 ใบ ใบละ 10 บาท        เป็นเงิน 1,160  บาท กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมกำจัดเหาให้นักเรียนหญิงและผู้ปกครอง - ค่าวิทยากร เป็นเงิน  600 บาท - ค่ายากัดเหา จำนวน 96 ขวด ขวดละ 75 บาท      เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าหมวกคลุมผม จำนวน 96 ใบ ใบละ 10 บาท เป็นเงิน  960 บาท - ค่าหวีเสนียด จำนวน 96 อัน อันละ 20 บาท      เป็นเงิน 1,920 บาท - ค่ากระบอกฉีดน้ำ จำนวน 6 อัน อันละ 60 บาท เป็นเงิน  360 บาท รวม เป็นเงิน 16,150 บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ที่คาดว่าจะได้รับ       1. นักเรียนมีสุขภาพฟันดีขึ้น มีนักเรียนฟันผุน้อยลง 2. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการกำจัดเหาของบุตรหลาน ได้ 100 % 3. นักเรียนรู้จักการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเองทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 4. ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจการดูแลรักษาความสะอาดของบุตรหลานให้ถูกสุขอนามัย เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1เพื่อส่งเสริมสุขภาพฟันของนักเรียน ตัวชี้วัดความสำเร็จ   นักเรียน จำนวน 116 คน มีสุขภาพฟันดีขึ้นและมีฟันผุน้อยลง ข้อที่ 2เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาการกำจัดเหาของบุตรหลาน 100 %  ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำจัดเหาให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนหญิง 48 คน ไม่เป็นเหา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 14:51 น.