โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในโรงเรียนบ้านลำแพะ
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภายในโรงเรียนบ้านลำแพะ |
รหัสโครงการ | 63-L1536-2-002 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านลำแพะ |
วันที่อนุมัติ | 22 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 33,860.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงเรียนบ้านลำแพะ(เงินรายได้สถานศึกษาโรงเรียนบ้านลำแพะ) |
พี่เลี้ยงโครงการ | กองทุน สปสช.อบต.ปากแจ่ม |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.737,99.724place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิค 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม อย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ และในประเทศไทย พบการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวหลายจังหวัด ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดจากคนสู่คนโดยตรง เมื่อมีการเปิดเรียนตามปกติ นักเรียนต้องมาโรงเรียนจึงจำเป็นที่โรงเรียนต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่อันตรายนี้ หากมีเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อโรคติดต่อกันได้ง่าย เนื่องจากเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยบ่อย ซึ่งหากเด็กป่วยจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก บุคคลใกล้ชิด และสังคมรอบข้างโดยรอบ ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้เด็กและบุคคลที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ รวมทั้งเด็กมักจะมีนิสัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและชอบเล่นกับเพื่อน จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแล เฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคฯ แก่ตนเองและเด็กนักเรียน และเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่อติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 )
โรงเรียนบ้านลำแพะมีนักเรียนจำนวน 111 คน ครูจำนวน 9 คน บุคลากรสนับสนุนการเรียนการสอน 3 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2563) มีการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จึงมีความจำเป็นในการที่จะจัดหา วิธีการและอุปกรณ์ป้องกันให้กับเด็ก ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันโรคติเดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด โดยเฉพาะในส่วนของสถานศึกษาซึ่งมีนักเรียนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจำเป็นต้องมีมาตรการการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-๑๙ ไม่ให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งโรงเรียนบ้านลำแพะเป็นสถานศึกษาที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนจึงต้องมีการตอบโต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิดให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในช่วงเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2563 ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป
เป้าหมาย นักเรียนอนุบาล 1 ถึง ประถมศึกษาปีที่ 6 /ผู้ปกครอง ครู บุคลากรสนับสนุนในโรงเรียนบ้านลำแพะ จำนวน 230 คน
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านลำแพะ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
วิธีดำเนินการ
1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
2. จัดประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินโครงการตามรายละเอียดของกิจกรรม
3.1 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 )
3.2 ติดตามสถานการณ์ และเฝ้าระวังสถานการณ์
4. ประเมินผลการดำเนินงาน สรุปและรายงานผลโครงการ
วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ข้อที่ 2.เพื่อลดอัตราการป่วย จากโรคติดต่อจากการติดเชื้อ จากคนสู่คนในโรงเรียนบ้านลำแพะ
ข้อที่ 3. เพื่อให้มีวัสดุอุปกรณ์ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ) ตัวชี้วัดความสำเร็จ
โรงเรียนบ้านลำแพะ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
- นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ ในการดูแลและสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 2. นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 )
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2563 15:58 น.