กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ประจำปี ๒๕๖๐

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ประจำปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 12 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค มีความสำคัญต่อระบบการป้องกันควบคุมโรคของประเทศ เขต และจังหวัด โดยทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วประจำหน่วยงานสาธารณสุขที่มีพื้นที่รับผิดชอบในด้านการป้องกันและควบคุมโรค ทีม SRRT (Surveillance and Rapid Response Team ) เป็นทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เนื่องจากปัญหาภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health emergency) ที่มากขึ้นทั้งในด้านความถี่ ขนาด และความรุนแรง รวมถึงขีดความสามารถในการแพร่กระจายปัญหาไปยังพื้นที่อื่นๆ ทุกพื้นที่จึงจำเป็นต้องมีทีมงานรับผิดชอบในการเฝ้าระวังปัญหา และสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

มาตรการการควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลในขณะนี้ ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรคและในปัจจุบันพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกัน เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรง และเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นตัวจักรสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ที่จะช่วยยับยั้งการระบาดของโรค ดังนั้น การทำงานเปนทีมจึงเปนหัวใจสำคัญยิ่งตอการทำงานของทีม SRRT

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ ในการส่งเสริมสนับสนุน ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในชุมชน มีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคและได้รับความปลอดภัยจากโรคอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ๒. เพื่อให้ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความพร้อมในการรับมือต่อการเกิดโรคในพื้นที่ ๓. เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อให้ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ๒. เพื่อให้ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความพร้อมในการรับมือต่อการเกิดโรคในพื้นที่ ๓. เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. ประชุมทีม SRRT เพื่อจัดทำแผนงาน/โครงการ ๒. เสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตพื้นที่ตำบลท่าเรือ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาทีม SRRT จำนวน ๑ วัน ๔. ปฏิบัติการซ้อมแผนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเรือ จำนวน ๑ วัน ๕. ติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒. ทีมระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความพร้อมในการรับมือต่อการเกิดโรคในพื้นที่ สามารถรับมือต่อสถานการณ์การเกิดโรคได้ทันถ่วงที ๓. พัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 11:42 น.