กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมน้ำใจป้องกันภัยไข้เลือดออก อบต.ลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 005
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข อบต.ลำภูรา
วันที่อนุมัติ 2 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 29,531.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพชรา เทพชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.698,99.583place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ มีแนวโน้มทวีความรุนแรงของการระบาดเพิ่มขึ้น และต่อเนื่อง ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค และนอกจากนี้ยังมีโรคอื่น ๆ ที่มียุงเป็นพาหะ เช่น ชิคุณกุนยา ซิกายุงลายตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็กและในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนและโรงเรียนชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่าความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย มีค่อนข้างสูงทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท อันเนื่องมาจากการจัดการด้านสุขาภิบาลไม่ดี อีกทั้งในแต่ละชุมชนมีการอพยพย้ายถิ่นของประชาชน ทำให้เกิดการถ่ายเทของเชื้อไวรัส จึงทำให้ทุกชุมชนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาด นอกจากนั้น หากทุกพื้นที่ไม่เห็นความสำคัญของการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม ขาดความร่วมมือจากประชาชน และขาดการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรส่วนปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะไม่สามารถที่จะดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ให้สงบลงได้ เขตพื้นที่ตำบลลำภูราเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม ของทุกปี ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชนโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง การจะควบคุมโรคควรมีการดำเนินทั้งในช่วง ก่อนระบาดระบาด และหลังระบาดดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลำภูรา จึงเห็นความจำเป็นและความสำคัญที่จะต้องดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและครอบคลุมในเขตตำบลลำภูรา จึงได้จัดทำโครงการรวมน้ำใจป้องกันภัยไข้เลือดออกตำบลลำภูราขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
3 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยแกนนำหมู่บ้านและ อสม.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ 0 0.00 -

ขั้นเตรียมการ 1.รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 2.จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ 3.จัดเตรียมทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1.นัดประชุมผู้นำชุมชน และ อสม. ในเขตรับผิดชอบทุกคนเพื่อชี้แจงโครงการ 2.อบรมเชิงปฏิบัติการแก่อสม. 3.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยแกนนำหมู่บ้านและ อสม. ทุกหมู่บ้าน
ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้ 3.1ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 3.2มีรถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ 3.3เดินรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยแกนนำหมู่บ้าน และ อสม. 4.ให้ อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในละแวกบ้านที่รับผิดชอบทุกวัน ประสานงานกับ อบต.เพื่อขอสนับสนุนเคมีภัณฑ์ ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและ ขอสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน ในการพ่นหมอกควัน 5.ประชาสัมพันธ์ผ่านเวทีประชุมอบต. .ผู้นำชุมชน 6.กรณีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ดำเนินการดังนี้ 6.1ดำเนินการสอบสวนโรคทันทีและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ 6.2สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน 6.3พ่นหมอกควัน ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยและอาณาบริเวณ ใกล้เคียง โดยพ่น 3 ครั้ง ระยะห่าง 0 3 7วัน 6.4ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนในหมู่บ้าน 6.5เฝ้าระวังไม่ให้มีผู้ป่วยรายต่อไปใน 28 วัน หลังจากมีผู้ป่วยรายแรกในหมู่บ้านนั้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 12:25 น.