กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์

ชื่อโครงการ โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-02-44 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-02-44 ระยะเวลาการดำเนินงาน 31 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 27,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ผู้สูงอายุ นับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทย  ที่ทุกฝ่ายต้องให้ความ สำคัญ ให้การยกย่องนับถือ  เนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ  เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยทำงาน สำหรับประเทศไทย  สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคม จำเป็นต้องเตรียมการ และให้การช่วยเหลือเกื้อกูลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งวัยสูงอายุที่เพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย และเจ็บป่วยได้ง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆ ในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะกระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม ผู้สูงอายุ เป็นอีกวัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าควรส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเด็กเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววัยสูงอายุก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น ระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพ รวมทั้งเหงือกและฟันที่อยู่ในช่องปากด้วย ผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพครั้งล่าสุดในปี 2557 พบว่าผู้ที่มีอายุ 60-74 ปี เสียฟันทั้งปากแล้ว ร้อยละ 7.2 และสูญเสียบางส่วนเกือบทุกคน ส่งผลให้เกิดความต้องการฟันเทียมทั้งปากเพื่อการเคี้ยวอาหารเพิ่มขึ้น  อีกทั้งโรคในช่องปากที่นำไปสู่การสูญเสียฟันในกลุ่มผู้สูงอายุ  ทั้งโรคฟันผุ โรคปริทันต์และรากฟันผุเป็นโรคเรื้อรังที่สะสมมาก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ความชุกและความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปเพราะ "ฟัน" คือปราการด่านแรกของกระบวนการเผาผลาญอาหาร ฟันที่ดีและแข็งแรง จะช่วยบดเคี้ยวอาหารที่ดีส่งไปสู่ลำไส้ และต่อเนื่องไปถึงกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตามมา "ฟัน" จึงเป็นอวัยวะอันดับต้นๆ ที่เราต้องใส่ใจ  ในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น เป็นกลุ่มที่พบการสูญเสียฟันอย่างชัดเจน การสูญเสียฟันในผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยมากกว่า 10 ซี่/คน  อาจกล่าวได้ว่า ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมีปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร การปราศจากฟันทั้งปาก ซึ่งเป็นดัชนีที่บ่งบอกถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างชัดเจน ดังนั้นสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุที่สภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรมจากการใช้งาน การมีสุขภาพช่องปากที่ดีส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายได้สารอาหารครบถ้วน ที่จะไปช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย สามารถที่จะดำรงชีวิตไดอย่างมีคุณค่าและมีความสุขต่อไป กลุ่ม อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ในการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี จึงได้จัดทำโครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563  เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันที่สนใจเข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุในชุมชนมีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 18 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ประเมินคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น โดย อสม.ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์
  • บรรยายเรื่อง  โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง  การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ด้วย 3 อ 2 ส และ 1 ฟ โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยายเรื่อง  ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปาก  และวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพ ช่องปาก โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายและสาธิต  เรื่อง  การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก โดย  วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า
  • กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุโดย  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลกันตัง/รพ.สต.บางเป้า
  • ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.1  สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน โดย แกนนำสุขภาพในชุมชน ทำการสำรวจ/คัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ(ชั่งน้ำหนัก/วัดสูง/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต/ประเมินดัชนีมวลกาย)และสุขภาพในช่องปากเบื้องต้น และเชิญชวนผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมโครงการ  ซึ่งมีผู้สูงอายุได้รับการประเมิน/คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น  จำนวน  70  คน
1.2  จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน60  คน  เมื่อวันที่  18  กันยายน  2563  ณ  ศาลาร่วมใจชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์  โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า  และโรงพยาบาลกันตัง มาให้ความรู้ในเรื่อง
- โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ด้วย  3อ 2ส และ 1ฟ - ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปาก  และวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพช่องปาก - การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก 1.3  ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ซึ่งมีผู้สูงอายุสนใจเข้ารับการตรวจจำนวน  18  ราย พบว่า - ฟันผุที่ต้องถอน  จำนวน  7 ราย
- ฟันผุต้องอุด จำนวน  5  ราย - หินปูน จำนวน  6  ราย 2. ผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันหรือผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ร้อยละ 100  ได้รับคำแนะนำในการดูแล ส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปาก 3. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ  จำนวนทั้งสิ้น  27,800.-  บาท

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน โดย แกนนำสุขภาพในชุมชน ทำการสำรวจ/คัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ(ชั่งน้ำหนัก/วัดสูง/วัดรอบเอว/วัดความดันโลหิต/ประเมินดัชนีมวลกาย)และสุขภาพในช่องปากเบื้องต้น และเชิญชวนผู้สูงอายุในชุมชนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งมีผู้สูงอายุได้รับการประเมิน/คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 70 คน
1.2 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้พร้อมฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงอายุในชุมชน ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน60 คน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ณ ศาลาร่วมใจชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเป้า และโรงพยาบาลกันตัง มาให้ความรู้ในเรื่อง
- โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - การดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ด้วย 3อ 2ส และ 1ฟ - ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปาก และวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพช่องปาก - การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก 1.3 ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันแก่ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ซึ่งมีผู้สูงอายุสนใจเข้ารับการตรวจจำนวน 18 ราย พบว่า - ฟันผุที่ต้องถอน  จำนวน 7 ราย
- ฟันผุต้องอุด จำนวน 5 ราย - หินปูน จำนวน 6 ราย 2. ผู้สูงอายุที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันหรือผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรม ร้อยละ 100 ได้รับคำแนะนำในการดูแล ส่งเสริมป้องกันและรักษาสุขภาพช่องปาก 3. สรุปค่าใช้จ่ายการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 27,800.- บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ ในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพช่องปากของตนเองมากขึ้น (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการแก้ไข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ ร่วมใจส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ปี 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-02-44

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( โครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ชุมชนหลังชุมสายโทรศัพท์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด