กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอนามัยแม่และเด็ก เพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รหัสโครงการ 63-L4122-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 1
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 25,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,101.309place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 ก.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 25,150.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 25,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 1 พบว่า ปี2562 ปัญหาภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่ผ่านตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ (เป้าไม่เกินร้อยละ 10) ผลการดำเนินงานหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด คิดเป็นร้อยละ 13.33 สาเหตุเกิดจากการมีภาวะซีดก่อนตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์กินอาหารที่ไม่มีธาตุเหล็กและหญิงตั้งครรภ์กินยาเสริมธาตุเหล็กไม่ต่อเนื่อง และปัญหาการกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 45.00 (เป้าไม่น้อยกว่าร้อยละ50) สาเหตุเกิดจาก หญิงหลังคลอดไม่เห็นประโยชน์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และขาดความรู้เรื่องการบีบเก็บน้ำนม เป็นต้น ส่งผลให้หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมผสมมากกว่านมแม่
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1 ได้เห็นความสำคัญและตระหนักในปัญหาดังกล่าวนี้ จึงขอจัดทำโครงการอนามัยแม่และเด็กเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปีงบประมาณ 2563 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

 

0.00
2 เพื่อให้อสม.เชี่ยวชาญนมแม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินงาน
1. ประชุมคณะทำงานเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1 เพื่อชี้แจงโครงการและกำหนดบทบาทความรับผิดชอบ
2. เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ 3. ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการ ฯ

ระยะดำเนินงาน
1.รณรงค์คัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดก่อนรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์  จำนวน 100 คน
2.ฟังผลตรวจความเข้มข้นของเลือดพร้อมอธิบายการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  คือ ไม่ซีดกับซีด โดยกลุ่มไม่ซีดรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 6 เดือน ส่วนกลุ่มซีดรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กวันละ 1 เม็ด ระยะเวลา 1 เดือน และนัดตรวจความเข้มข้นของเลือดตามซีดอีก 2 ครั้ง ทุก1เดือน ถ้าผลความเข้มข้นของเลือดยังซีด ทางรพ.สต.ส่งต่อหญิงวัยเจริญพันธุ์ไปโรงพยาบาลบันนังสตา เพื่อพบแพทย์และการรักษาที่ถูกต้องต่อไป แต่ถ้าผลเลือดไม่ซีดปรับการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 เม็ด ระยะเวลา 6 เดือน
3.ตรวจความเข้มข้นของเลือดตามกลุ่มเป้าหมายหลังรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก
4.จัดอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (อสม.เชี่ยวชาญนมแม่) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1 5. ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอดพร้อมให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และมอบชุดดูแลหญิงหลังคลอดร่วมกับอสม.เชี่ยวชาญนมแม่ประจำหมู่บ้าน
ระยะหลังดำเนินงาน
1. ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
2. สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลง
    2.หญิงหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน
    3.อสม.เชี่ยวชาญนมแม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 12:58 น.