กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนห่วงใยใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-L3336-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านไทรพอน
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจบ ยิ้มแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านไทรพอน ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สุงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยใช้เวลาเพียง 20 ปี ซึ่งเร็วกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ใช้เวลาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประมาณ 60 ปี ขึ้นไป ประชากรสูงอายุไทรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี พ.ศ.2548 มีผู้สูงอายุจำนวน 6.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.3 และจะเพิ่มเป็นอีก 2 เท่าตัวในปี พ.ศ.2568 เป็น 14 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากร และในปี พ.ศ.2573 ไทยจะมีประชากรสูงอายุประมาณ 1 ใน 4 ของประชากร หรือกว่าร้อยละ 25 ของประชากร การที่อายุยืนยาวขึ้นของผู้สูงอายุส่งผลกระทบทั้งในด้านปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม โดยปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุได้แก่ปัญหา การได้ยินและการมองเห็น การสื่อสาร การเคลื่อนไหวร่างกายและอุบัติเหตุ ปัญหาในการขบเคี้ยวอาหารและการขับถ่าย ปัญหาสภาพจิตใจ โรคสมองเสื่อมและปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ซึ่งพบว่าในเขตรับผิดชอบ ม.1, ม.8, ม.9 และม.10 ตำบลดอนประดู่ มีผู้สูงอายุจำนวน 305 ราย เป็นผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 288 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.43 ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.93 และเป็นผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 5 ราย คิดเ็นร้อยละ 1.64
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อป้องกันปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังของผู้สูงอายุและความพิการที่จะตามมา และเสริมสร้างพลังกลุ่มต่าง ๆ องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนตั้งแต่ตัวของผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่มจิตอาสาอื่น ๆ ให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางในการดูแล การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนห่วงใยใส่ใจ ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2560 ขึ้น อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลที่ตรงตามปัญหาและความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของชุมชน มีการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

ร้อยละของผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือในการดำเนินกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน ไม่เกินร้อยละ 15

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและประเมินสมรรถนะเพื่อการดูแลด้วยเครื่องมือ ADL ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

3 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน อย่างน้อย 1 ชมรม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. จัดทำข้อมุล และวิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในชุมขน
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอนประดู่
  3. ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนร่วมกัน
  4. จัดอบรมอาสาสมัครทำงานดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ในเรื่องต่อไปนี้ 4.1 การดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ 4.2 อาหารสำหรับผู้สูงอายุ 4.3 การใช้ยาในผู้สูงอายุ 4.4 การออกกำลังกาย (การบริหารร่างกาย) ในผู้สูงอาย 4.5 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ 4.6 การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตามแบบประเมินคัดกรอง ADL, สุขภาพผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ทั้งสุขภาพกาย จิต ภาวะซึมเศร้าและข้อเข่าเสื่อม 4.7 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพผู้สูงอายุ 4.8 การดูแลผู้สูงอายุติดสังคม ผู้สูงอายุติดบ้านและผู้สูงอายุติดเตียง
  5. อาสาสมัครดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ออกประเมินสุขภาพผู้สูงอายุตามแบบประเมินคัดกรอง ADL, สุขภาพผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ทั้งสุขภาพกาย จิต ภาวะซึมเศร้าและข้อเข่าเสื่อม แนะนำช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และรายงานผลการดำเนินงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุทราบ เพื่อหาแนวทางชวยเหลือต่อไป
  6. มีการประชุมติดตามการดูแลผู้สูงอายุทุก 2 เดือน
  7. รายงานผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  2. ชมรมผู้สูงอายุมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน
  3. ชุมชนมีการส่งเสริมและดูแลผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 15:32 น.