กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกและมะเร็งเต้านม ตำบลเจ๊ะบิลัง
รหัสโครงการ 7/2560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนใต้ควน
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฝาสีล๊ะหลีวัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลกได้ประมาณการณ์ไว้ว่าในปี 2563จะมีประชากรโลกตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่า 11,000,000 คน อยู่ในประเทศกำลังพัฒนามากกว่า 7,000,000 คน ดังนั้น โรคมะเร็งจึงจัดเป็นปัญหาสาธารณสุขของโลกสำหรับประเทศไทยโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของประชากรไทย ตามสถิติมีคนตายจากโรคมะเร็งประมาณวันละ 160 คน ปีหนึ่ง ๆ ตรวจพบผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 64,000 ราย ต่อปี และเสียชีวิตปีละประมาณ30,000 ราย มะเร็งที่เกิดในสตรีมากที่สุด คือ มะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม (สถิติสิบอันดับแรกของมะเร็งในสตรีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ )ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับสามรองมาจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้หญิงทั่วโลกมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในสตรีไทย มีผู้ป่วยใหม่ปีละประมาณ 7,000 ราย ส่วนใหญ่พบเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี ปัญหาของโรคมะเร็งปากมดลูกคือผู้ที่เป็นมักไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะกลายเป็นระยะที่ลุกลามแล้วซึ่งยกต่อการรักษาให้หายขาดอย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถตรวจและสืบค้นได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ การดำเนินโรคเป็นแบบค่อยค่อยไป ใช้ระนะเวลาค่อยข้างนาน อวัยวะปากมดลูกเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจได้ง่ายกว่าอวัยวะอื่น ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกหรือก่อนที่จะเป็นมะเร็งระยะลุกลาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้สถานการณ์โรคมะเร็งเต้านมของประเทศไทยในปัจจุบัน พบว่า ผู้หญิงไทย 1 แสนคน เป็นมะเร็งเต้านมถึง20 - 25 คน โดยพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ปีละ 13,000 คน เสียชีวิตปีละ 4,600 คน อีกทั้ง ยังพบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ถึงร้อยละ 33.4 โดยปัจจัยกลุ่มเสี่ยงมีทั้งผู้ที่มีอายุมากขึ้น กรรมพันธุ์ ความอ้วน ความเครียด การได้รับสารก่อมะเร็งในชีวิตประจำวัน และขาดการออกกำลังกาย มะเร็งเต้านม นับว่าเป็นภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับผู้หญิงทุกคน เพราะมะเร็งเต้านมนี้ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ถ้าหากมีอาการเกิดขึ้นเมื่อใด นั่นก็หมายความว่าโรคร้ายได้มาเยือนแล้ว มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมมีการเปลี่ยนแปลงจนเป็นมะเร็งเต้านม อาการของโรคที่พบบ่อยได้แก่ มีก้อนที่เต้านม บางรายอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย อาการอื่นเช่น มีเลือดออกทีหัวนม เต้านมบวมเป็นเปลือกส้ม ดังนั้นสิ่งที่รับมือได้ดีที่สุด เพื่อให้รู้เท่าทันมะเร็งเต้านมก็คือ การตรวจเต้านมเป็นประจำ เพื่อให้ทราบว่าเราไม่มีโรคร้ายแฝงอยู่ หรือถ้าพบในระยะต้น ก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนใต้ควน หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2560 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจ พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม ตลอดจนมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองมีความตื่นตัวในการเฝ้าระวังและเริ่มต้นสร้างสุขนิสัยการมีพฤติกรรมสุขภาพโดยการตรวจคัดกรองโรคด้วยตนเองเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. สตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม

สตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และโรคมะเร็งเต้านม และลดอัตราการเกิดโรคได้

2 2. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear

กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear

3 3. สตรีอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเองและปฏิบัติสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ70สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองและปฏิบัติสม่ำเสมอ

4 4. ร้อยละ 100 ของผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกหรือความผิดปกติที่เต้านมได้รับการตรวจวินิจฉัยรักษาเร่งด่วนและติดตามอย่างต่อเนื่อง

ผู้ที่ได้รับการตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกหรือความผิดปกติที่เต้านมทุกคนได้รับการตรวจวินิจฉัยรักษาเร่งด่วนและติดตามอย่างต่อเนื่อง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย (สตรีกลุ่ม อายุ 30-60 ปี )ภายในเขตตำบลเจ๊ะบิลัง,การอบรมให้ความรู้เรื่องทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย 80 10,000.00 10,000.00
1 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear 104 5,000.00 5,000.00
รวม 184 15,000.00 2 15,000.00

ขั้นเตรียมการ 1. สำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมาย (สตรีกลุ่มอายุ 30 - 60 ปีที่อยู่จริงในเขตเทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง) 2. เขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
3. นัดประชุม อสม.เพื่อเสนอแนวคิด ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานเพื่อประสานประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ 4. จัดทำเอกสารแผ่นพับความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเองและมะเร็งปากมดลูก 5. จัดทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจเต้านมด้วยตนเองและมะเร็งปากมดลูก
ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการอบรมให้ความรู้เรื่องทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองและตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย ( จำนวน1 วัน )
2. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear ( จำนวน1 วัน )

หลังดำเนินการ 1. รายผลการตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติของปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย 2. รายงานผลการตรวจเต้านมด้วยตนเองอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยติดตามจากปฏิทินการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย 3. ติดตามรักษาและส่งต่อในรายที่ผลคัดกรองผิดปกติ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
  2. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Pap smear
  3. กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ70สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองและปฏิบัติสม่ำเสมอ
  4. ผู้ที่ได้รับการตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกหรือความผิดปกติที่เต้านมทุกคนได้รับการตรวจวินิจฉัยรักษาเร่งด่วนและติดตามอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 15:46 น.