กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีลุโบะยิไรร่วมใจ อสม.ห่วงใย ป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก รพ.สต.ลุโบะยิไร ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L3006-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะยิไร
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,420.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตอยญีบะห์
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสือเมาะมุสตอปา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะยิไร อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.666,101.417place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 96 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของโลก จากรายงานขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer : IARC) / องค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ.2545 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามรายใหม่ปีละ 493,243 คน และตายปีละ 273,505 คน และใน 5 ปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ 1,409,285 คน ซึ่งจะต้องได้รับการรักษา ในประเทศไทย โรคมะเร็งปามดลูกเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่และรายเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ แต่อัตราการอยู่รอด 5 ปี จะดีขึ้นถ้าพบในระยะเริ่มแรก โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูก และจากสถานการณ์ ปี2558ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะยิไรพบว่า กลุ่มเป้าหมาย สตรีอายุ 30ปี – 60ปีจำนวน 1691คนได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก188 รายคิดเป็นร้อยละ11.11 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี ที่กลุ่มเป้าหมายต้องได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะยิไร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำ ”โครงการสตรีลุโบะยิไรร่วมใจ อสม.ห่วงใย ป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก” ขึ้น เพื่อค้นหามะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำ โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งมะเร็งปากมดลูก นำ เสนอต่อ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลุโบะยิไร 2.สำรวจข้อมูลกลุ่มประชากรเป้าหมายในพื้นที่ 3.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย 4.จัดทำแผนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แต่ละหมู่บ้าน 5.ประชาสัมพันธ์และรณรงค์โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งมะเร็งปากมดลูก ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ
6.อบรมให้ความรู้ แก่อสม.สตรีเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก เพื่อสามารถถ่ายทอด ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายและมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
7.จัดชุดปฏิบัติการอสม.เคาะประตูบ้านชวนเพื่อนไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 8.จัดกิจกรรมรณรงค์การตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยบริการตรวจถึงบ้านโดยแกนนำ อสม.นัดหมายตามแผนการรณรงค์ 9.รณรงค์การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามกลุ่มเป้าหมายใน สถานบริการ อย่างต่อเนื่อง 10.ส่งต่อผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที 11.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินการโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย เกิดความตื่นตัว ตระหนัก ต่อเนื่อง ในเรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม 2.สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ20 3..เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในระยะเริ่มแรก มีการส่งต่อและรักษาผู้ป่วยที่พบผลผิดปกติ อย่างถูกต้อง ต่อเนื่อง และทันท่วงที 4.เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในระยะอันตราย ลดอัตราการป่วยตายด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกให้น้อยลง 5.เพื่อประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก 6.เพื่อให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2560 21:28 น.