กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลังออกกำลังกาย แบบแอโรบิค ชุมชนบ้านทุ่ง ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L8409-02-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน ชุมชนบ้านทุ่ง
วันที่อนุมัติ 25 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 36,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางสาวจิราภรณ์ สลีมีน ๒. นางสาวจรรยาณี งะสมัน ๓. นางสาวยาแลหวา มะสมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออำกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ หลายหน่วยงานได้หันมาให้ความสนใจโดยให้มีการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น ภายใต้โครงการรวมพลังออกกำลังกายแบบแอโรบิค ชุมชนบ้านทุ่ง       ในการจัดทำโครงการในครั้งนี้เพื่อรณรงค์ การออกกำลังกายในชุมชน เน้นการออกกำลังกายแบบการเต้นแอโรบิคเป็นวิธีที่เหมาะสมโดยการกระตุ้น ให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้วยังช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชน ออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 2. เพื่อสร้างความสามัคคีของเครือข่ายชุมชน 3. เพื่อสร้างชมรมออกกำลังกายแบบแอโรบิค 1 ชมรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. คนในชุมชน ออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น 2. มีความสามัคคีของเครือข่ายในชุมชน   3. มีชมรมออกกำลังกายแบบแอโรบิค 1 ชมรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

.ขั้นเตรียมการ     1.1 ประชุมคณะทำงาน (อสม./ผู้นำชุมชน) เพื่อวางแผนการทำงาน     1.2 จัดหาผู้นำการออกกำลังกาย จากหน่วยงานอื่นที่มีความเชี่ยวชาญ     1.3 ฝึกแกนนำออกลังกายแต่ละหมู่บ้าน (อสม.) อย่างน้อย หมู่ละ 1 คน     1.4 จัดเตรียมสถานที่/วัสดุ/อุปกรณ์ ประกอบการออกกำลังกาย 2.ขั้นดำเนินการ     2.1 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย     2.2 ให้ความรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสม ตามกลุ่มวัย และพื้นที่     2.3 จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกายแบบแอโรบิค 1 กลุ่ม
    2.4 มีกิจกรรมออกกำลังกายแบบแอโรบิคเฉลี่ยอาทิตย์ละ 3 วัน 3.สรุปผลการดำเนินการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คนในชุมชนออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น     2. มีความสามัคคีของเครือข่ายในชุมชน     3. มีชมรมออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ยั่งยืน 1 ชมรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2563 00:08 น.