โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มโรค ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มโรค ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน |
รหัสโครงการ | 63-L2525-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพ.สต.บ้านลาเวง |
วันที่อนุมัติ | 8 กรกฎาคม 2563 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2563 - 25 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 20,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผอ.รพ.สต.บ้านลาเวง |
พี่เลี้ยงโครงการ | ซำซูดิน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.27,101.57place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กใน ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ ได้กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ ๗ ผลการ ดำเนินงาน งาน อนามัยแม่และเด็ก ในปี ๒๕๖๑ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลาเวง อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ ร้อยละ ๒.๑๙ และพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ครบ ๖ เดือน ร้อยละ ๖๘.๕ วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนาน การคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วย คลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้าน จิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือ การต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ทำให้ ปัญหา“เด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ”ของประเทศไทยทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นภาวะวิกฤติหนึ่งที่มี ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัว และสังคมไทยในภาพรวม
ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงภาวะ คลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัย ความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๘) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะ ส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ป้องกันภาวะคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน หญิงหลังคลอดสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2 ก.ย. 63 | อบรมการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับกลุ่มเสี่ยง และ กลุ่มโรค ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน | 120 | 20,500.00 | ✔ | 20,500.00 | |
รวม | 120 | 20,500.00 | 1 | 20,500.00 |
- โครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อพิจารณาวางแนวทางการดำเนินงาน
- ประสานกลุ่มผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่จะดำเนินงาน
- จัดทำกิจกรรมตามแนวคิดของที่ประชุม
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง โรงเรียนพ่อ-แม่
- อบรมให้ความรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด โดยวิทยาการ
มีเนื้อหา ดังนี้
1.การปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ จำนวน ! ชั่วโมง
2.โภชนาการสำหรับสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอด จำนวน 1 ชั่วโมง
- การดูแลทารกแรกเกิดอย่างถูกวิธี จำนวน 1 ชั่วโมง
- การเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา จำนวน 1 ชั่วโมง
- การให้วัคซีนแก่ทารกแรกเกิด จำนวน 1 ชั่วโมง
- การวางแผนครอบครัว จำนวน 1 ชั่วโมง
- หญิงตั้งครรภ์และครอบครัว มีความรู้ ความตระหนักในการดูแลตนเอง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย
- สถาบันครอบครัวเข้มแข็งสามารถดูแลลูกอย่างมีคุณภาพตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยรุ่น
- อสม.ในพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีความรู้ และสามารถให้คำแนะนำการดูแล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2563 11:41 น.