กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L5223-ป.1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 46,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวไลภรณ์ สุขทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.799723,100.289988place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2563 30 มิ.ย. 2564 46,700.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 46,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย   การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม ตระหนักและเห็นความสำคัยของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกปีงบประมาณ 2563 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน (ลด 20% ของค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง)

เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2563 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภาครัฐ และกลุ่มองค์กรต่างๆ

เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างหน่วยราชการและกลุ่มองค์กรต่างๆ ในตำบลบ้านใหม่

0.00
3 เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภาครัฐและกลุ่มองค์กรต่างๆ

1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในวัด โรงเรียน (CI) มีค่าเท่ากับ 0 2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน (HI CI) มีค่าเท่ากับ 0

0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

4.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,700.00 0 0.00
17 พ.ย. 63 ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน จำนวน 500 หลังคาเรือน 0 7,500.00 -
17 พ.ย. 63 - 17 ธ.ค. 63 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 0 8,000.00 -
17 พ.ย. 63 - 4 ธ.ค. 63 ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ 0 26,000.00 -
17 พ.ย. 63 - 7 ธ.ค. 63 ค่าป้ายไวนิลโครงการ 0 1,200.00 -
17 พ.ย. 63 - 4 ธ.ค. 63 ค่าวัสดุดำเนินการ 0 4,000.00 -

1.ประชุมชี้แจง อสม.และเจ้าหน้าที่ รพสต. เพื่อจัดทำโครงการ 2.จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปี 2562 โดยชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายฯ 3.เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน วัด รพสต.และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 5.แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสามสมัคร (อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ 6.ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน 7.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 8.รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน วัด ร่วมกับแกนนำประจำครอบครัว 9.แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ 10.ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดโรคลดลง และสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น 2.ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้านการควบคุมพาหะ ด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรค 3.สามารถเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และโรงเรียน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2563 00:00 น.