กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังในเรือนจำจังหวัดตรัง ปี 2563
รหัสโครงการ 2563-L1490-1-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เรือนจำจังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 33,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภักดี แก้วเนียม ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดตรัง และ นางเจมบอลย์ บุญแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 33,440.00
รวมงบประมาณ 33,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 2769 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง มีทั้งสิ้น 2,769 คน โดยแยกเป็นชาย 2,407 คน หญิง 362 คน ภาวะสุขภาพของผู้ต้องขัง ที่เจ็บป่วยมีทั้งสิ้น 249 คน คิดเป็นร้อยละ 10.22 โดย 5 อันดับโรคที่พบคือ หอบหืด, ความดันโลหิตสูง, หัวใจ, เกาต์ ไทรอยด์ ซึ่งการคัดกรอง ภาวะโรคเรื้อรังจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะจะทำให้ทราบถึงภาวะสุขภาพพร้อมป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย     ดังนั้น เรือนจำจังหวัดตรัง จึงได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคเรื้อรังในเรือนจำจังหวัดตรัง ปี 2563 ขึ้น โดยการตรวจคัดกรองผู้ต้องขัง เพื่อป้องกัน ควบคุมโรค พร้อมทั้งให้การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อไม่ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ร้อยละ 70

0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังที่เป็นผู้สูงอายุ/ผู้พิการได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL)

ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรังที่เป็นผู้สูงอายุ/ผู้พิการได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL) ร้อยละ 85

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 2769 33,440.00 0 0.00
7 ส.ค. 63 1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุ ๑8 ปีขึ้นไป 2. กิจกรรมประเมินคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL)ผู้สูงอายุ/ผู้พิการในเรือนจำจังหวัดตรัง 2,769 33,440.00 -

ขั้นเตรียมการ     ๑. ชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง ให้ทราบวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานตามโครงการฯ ๒. นำข้อมูลผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง ในปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนดำเนินงาน ๓. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๔. ประชุมชี้แจงโครงการและกิจกรรมผู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินงาน ๑. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุ ๑8 ปีขึ้นไปในเรือนจำจังหวัดตรัง โดย อสรจ. ๒. กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงพร้อมแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แก่กลุ่มเป้าหมาย     4. กิจกรรมประเมินคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(ADL)ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน/ ผู้พิการในชุมชน จำนวน 30 คน ( ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2563 )โดย อสรจ.และเจ้าหน้าที่

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดตรัง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ที่พบภาวะเสี่ยงได้รับความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยจากโรค ส่วนผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ๒. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้ 3. กลุ่มผู้สูงอายุ/ผู้พิการได้รับการคัดกรองความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2563 14:58 น.