กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด
รหัสโครงการ 63-L2496-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ
วันที่อนุมัติ 26 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กันยายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 28,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน กาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจอเบาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.66place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 พ.ย. 2563 28,800.00
รวมงบประมาณ 28,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลครรภ์เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดอย่างมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องถึงการให้การดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย ซึ่งเป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ควรให้การเลี้ยงดูให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคม และสติปัญญาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พัฒนาชุมชนและสังคมให้สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากการวิเคราะห์สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญ คือ มีภาวะซีดขยะตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดอายุน้อยกว่า 20 ปี และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง (มาฝากครรภ์แรก) ร้อยละ 17.72 และ 13.63 (ไม่เกินร้อยละ 10) อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีดซ้ำ ร้อยละ 33.33 และ 50.00 (ไม่เกินร้อยละ 30) อัตราการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 79.75 และ 74.24 (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) จากข้อมูลแสดงถึงสภาพปัญหาของงานอนามัยแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะ สาเหตุเกิดจากการที่ขณะตั้งครรภ์มารดามีน้ำหนักตัวตลอดการตั้งครรภ์ต่ำกว่าเกณฑ์ แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ดังนั้นงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจอเบาะได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และสามี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์และดูแลตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง

๑.ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์จากการเจาะเลือดครั้งที่ ๒ ไม่เกิน ๑๐ %

80.00
2 ๒.เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติ เพื่อส่งต่อให้ทันท่วงที

2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์

90.00
3 ๓.เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต

 

0.00
4 ๔.เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับหญิงตั้งครรภ์และอาสาสมัครดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 28,800.00 2 28,800.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดปีงบประมาณ 2563 120 21,600.00 21,600.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 อบรมอาสาสมัครสาธารณสุข 90 7,200.00 7,200.00

1.สส่งเสริมควาามรู้ตามหลักสูตร โรงเรียนพ่อแม่ 2.ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร 3.ให้วิตามิน เสริมธาตุเหล็ก 4.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5.ออกติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพร้อมให้ความรู้หญิงหลังคลอดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.หญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ 2.อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที 3.หญิงตั้งครรภ์มีทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต 4.หญิงตั้งครรภ์และอาสาสมัครดูแลหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2563 22:13 น.