กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล พร้อมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน จากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน ปี 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล พร้อมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน จากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน ปี 2563
รหัสโครงการ 63- L5298 -01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด
วันที่อนุมัติ 23 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 19,410.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด โดย นายไพรินทร์ แก้วทองมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.702,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาธารณสุขของประเทศไทย ต้องพบเจอกับปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลมาหลายทศวรรษ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติ เนื่องด้วยการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางด้านการรักษาหรืออาจก่อให้เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วย เช่น การเกิดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยและปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น การสูญเสียเงินงบประมาณของประเทศชาติจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ซึ่งสำหรับประเทศไทย พบว่า มูลค่าการบริโภคยาของคนไทยสูงขึ้นถึง 1.4 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินความจำเป็นถึง 2,370 ล้านบาท และกลุ่มการใช้ยาอย่างมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก 4,000 ล้านบาท อีกทั้งจากการสำรวจยังพบว่าปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับหน่วยการให้บริการ ตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลจนถึงระดับชุมชน และจากองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา โดยปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลนั้นอาจเกิดได้จากทั้งผู้ให้บริการในการจ่ายยาและจากความคาดหวังที่จะได้รับยาปฏิชีวนะโดยตรงจากตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความรู้ ความเข้าเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ เช่น ผู้รับบริการเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความจำเป็นต่อการรักษาความเจ็บป่วย เกิดความรวดเร็วในการทุเลาของอาการ หรือแม้แต่ประสบการณ์การเคยได้รับยาปฏิชีวนะจากอาการที่คล้ายกันจากครั้งก่อนๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยระบุในยุทธศาสตร์ว่า การใช้ยาโดยแพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องและคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกที่ว่า “การใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational drug use : RDU)” คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด จากปัญหาข้างต้นนี้ได้มีการส่งผลกระทบโดยทั่วเกี่ยวกับการบริหารการจ่ายยาในผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการด้วยอาการเจ็บป่วยต่างๆ อีกทั้งยังมีพื้นฐานการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่หลากหลายในหน่วยบริการทั้งในระดับตติยภูมิ ทุติยภูมิ และหน่วยรับบริการระดับปฐมภูมิ ซึ่งได้รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ โดยสำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังพะเนียดนั้นได้ให้ความสำคัญและติดตามอัตราการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานการจ่ายยาในปีงบประมาณ 2561 พบว่า มีการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในผู้ป่วยนอก สูงเป็นอันดับ 3 ของอำเภอเมืองสตูล จาก 21 แห่ง และมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกยาสมุนไพรสูงเพียงร้อยละ 23.58 คิดเป็นอันดับที่ 13 จาก 21 แห่งของหน่วยให้บริการของอำเภอเมืองสตูล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรณรงค์สนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรในหน่วยบริการเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแต่ละรายย่อมต้องคำนึงถึงหลักการใช้ยาให้สมเหตุผลตามหลักการจ่ายยาที่ว่า ถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด ถูกวิธี และถูกเวลา นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากที่ซื้อยามารับประทานเอง จากการคาดการอาการการเจ็บด้วยตนเองหรืออาการที่คล้ายจากการเจ็บป่วยครั้งก่อนๆ ทั้งจากร้านขายยาหรือร้านค้าที่ไม่ได้ผ่านการตรวจรักษาอย่างเหมาะสมจากบุคลากรทางการแพทย์
        ดังนั้น จากปัญหาข้างต้นทาง รพ.สต.บ้านวังพะเนียด จึงได้ให้ความสำคัญและได้มีการจัดโครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลจากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน ในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งจากการจัดโครงการพบว่า ได้รับความสนใจและผลตอบรับของโครงการจากประชาชนในชุมชนอย่างดีเยี่ยม ดังนั้น ทาง รพ.สต.บ้านวังพะเนียด จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต่อยอดโครงการจากปีก่อน เพื่อสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจที่ถูกตองเกี่ยวกับการใชยาอย่างเหมาะสมในประชาชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้แพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพร การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างถูกต้องเหมาะสม และลดการซื้อยารับประทานเองไม่อย่างไม่เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนในชุมชนอย่างยั่งยืน สงเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติการใชยาอยางสมเหตุผลและป้องกันการเกิดอาการไม่พึ่งประสงค์จากตัวยาหรือโอกาสการป่วยจากการเกิด เชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน จึงจัดโครงการอบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล พร้อมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน จากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน ปี ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตัวเอง ครอบครัวและคนในชุมชน และมีองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนสามารถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ข้อที่ 4 เพื่อลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลแก่ประชาชนในชุมชน ข้อที่ 5 เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก        ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในชุมชนมีแนวทางการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพิ่มมากขึ้น อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลลดลง
ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 126 19,410.00 1 19,410.00
17 ส.ค. 63 อบรมความรู้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล พร้อมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน จากทีมสาธารณสุขสู่ชุมชน ปี2563 126 19,410.00 19,410.00
  1. ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลจากทั้งในและนอกสถานบริการ เพื่อนำมาวางแผนการปฏิบัติงานโครงการ     2. ดำเนินกิจกรรมช่วงเดือน มกราคม – สิงหาคม 2563 จำนวน 100 คน รายละเอียดดังกิจกรรมต่อไปนี้   2.1 ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ   2.2 ให้ความรู้เรื่องแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผลแก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ
      2.3 ให้ความรู้เกี่ยวโรค, ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลแก่ประชาชน   2.4 ให้ความรู้และแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองและการให้ความรู้เกี่ยวกับแพทย์ทางเลือกแก่ประชาชน       2.5 จัดรณรงค์ลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลแก่ประชาชนและในหน่วยงานการให้บริการ
          สุขภาพในชุมชน       2.6 ประเมินผลโครงการ สรุปผลการดำเนินงานพร้อมนำเสนอผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผล
  2 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือก ยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
  3 ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและจากการเจ็บป่วยพื้นฐานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม   4 อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุผลลดลง
  5 ประชาชนในชุมชนไม่เกิดเชื้อดื้อยา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2563 13:48 น.