โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดเสี่ยง ชุมชนคูหาเหนือ
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดเสี่ยง ชุมชนคูหาเหนือ |
รหัสโครงการ | 020262560 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชุมชนคูหาเหนือ |
วันที่อนุมัติ | 13 มิถุนายน 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | เยาวนิจบุญยัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จาการคัดกรองสุขภาพที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มประชาชนที่มีอายุทั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน มีภาวะเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ มะเร็งและโรคหลอดเลือดซึ่งอุบัติการณ์ในปัจจุบันชุมชนคูหาเหนือ มีผู้ป่วยด้วยโรคจากสุขภาพในปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปี และกลุ่มเสี่ยงจากโรคเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเช่นกันและอีกทั้งประชาชนกลุ่มดังกล่าว เป็นวัยที่ยังมีภาระรับผิดชอบ ไม่ค่อยให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพความร่วมมือในการตรวจคัดกรองสุขภาพก็น้อย ไม่ถึงเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจ และหากลุ่มนำร่องในการแก้ปัญหาสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดโรค ลดเสี่ยง ลดอาหารหวาน เค็ม กินผักปลอดสารพิษ ผักสะอาด การปลูกผักทำน้ำหมัก ดังนั้น ทางคณะกรรมการชุมชนคูหาเหนือ และ อสม. จึงร่วมกันระดมความคิด จัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเป้าหมายในชุมชน และสร้างกิจกรรมออกกำลังกายของชุมชน จัดหาสถานที่ที่เหมาะสม และสร้างกระแสรักษ์สุขภาพ ของชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์
ข้อที่ 1.เพื่อสำรวจประชากรและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป
ข้อที่ 2 เพื่อสร้างความรู้ด้านสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรคในกลุ่มเป้าหมาย
ข้อที่ 3 ส่งเสริมการบริโภคผักปลอดสารพิษ
ข้อที่ 4 จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย ในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพ ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรม มีความรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) ครัวเรือนมีการปลูกผัก ปลอดสารพิษกินเอง มีกลุ่มออกกำลังกายตามความชอบ และหลากหลาย ในชุมชน |
- ประชุม อสม. และคณะกรรมการชุมชน
- สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และจัดทำทะเบียน
- อบรมเชิงปฏิบัติสร้างความรู้และคัดกรองสุขภาพ
- จัดเวทีชุมชน สร้างกลุ่มออกกำลังกาย และปลูกผักกินเองในชุมชน
- ติดตามการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชุมชนมีกลุ่มออกกำลังกาย และมีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
2. ชุมชนมีความรักความสามัคคี ดูแลซึ่งกันและกัน สร้างสุขภาพคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
3. ชุมชนเป็นสุขห่างไกลโรคติดต่อเรื้อรังที่ป้องกันได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2560 09:03 น.